ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เรื่องแนะนำ

ทำความรู้จัก ประตูน้ำกระทุ่มแบน (ประตูน้ำอ่างทอง)

           ย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีก่อนที่ผมเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกระทุ่มแบนทั้งภาพถ่ายเก่า ประวัติต่างๆ ทั้งจากหนังสือและคำบอกเล่าของคนในชุมชนเอง หนึ่งในภาพและเรื่องราวที่น่าสนใจในการออกตามหาครานั้นก็คือ ภาพประตูน้ำอ่างทอง หรือประตูน้ำกระทุ่มแบนนั่นเอง            ขอเล่าความเดิมเกี่ยวกับคลองภาษีเจริญสักเล็กน้อยคร่าวๆ ครับ            เมื่อราว พ.ศ. 2393 - 2410  ช่วงที่การค้าน้ำตาลและผลผลิตจากน้ำตาลรุ่งเรือง สังเกตได้จากจำนวนโรงงานน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี (แม่น้ำท่าจีนในช่วงที่ไหลผ่านสมุทรสาคร) ซึ่งมีมากถึง 23 แห่ง ในปี พ.ศ. 2408 และพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีมากที่สุดในช่วงนั้นก็คือ ย่านนครชัยศรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครชัยศรีเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าน้ำตาลและอำนวยความสะดวกในการขนส่งน้ำตาลจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดและกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก จึงมีการขุดคลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก เพื่อให้สามารถลำเลียง ภาพคร้อปส่วนแผนที่ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ            หลังจากการเริ่มต้นขุดคลองภาษีเจริญ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พศ. 2409 (บางตำร
โพสต์ล่าสุด

"ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๕ สาย ธนบุรี - ปากท่อ" โดย นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง

          ในช่วงนี้ "ถนนพระราม ๒" หรือชื่อเดิม "ถนนปากท่อ-ธนบุรี"  กำลังเป็นข่าวคราวที่ได้รับการพูดถึงผ่านสื่อต่างๆ มากมาย เนื่องด้วยเป็นถนนที่มีการก่อสร้าง ปรับปรุง สร้างเพิ่มเติมกันมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการจราจร ความเป็นอยู่ของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง          บังเอิญผมได้มีโอกาสอ่านบทความเก่าเรื่องหนึ่งที่เขียนขึ้นใน  วารสารทางหลวง ของกรมทางหลวง กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ ชื่อเรื่องว่า "ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๕ สาย ธนบุรี - ปากท่อ"   โดย นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง ในขณะนั้น ผมจึงขออนุญาตคัดลอกเนื้อหา และภาพแผนที่จากในวารสารออกมาเผยแพร่ รวมถึงบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในอดีตให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ แผนที่แสดงเส้นทางถนนสายธนบุรี-ปากท่อ (เส้นปะสีดำเข้ม)           ทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - ปากท่อ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายใหม่ ซึ่งกรมทางหลวงกำลังเริ่มโครงการก่อสร้างใหม่ ทางหลวงสายนี้เริ่มต้นที่คาวคะนอง จังหวัดธนบุรี ไปสู่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และไปบรรจบทางหลวงแผ่นดิน

เรื่องเล่าวันวานจากประสบการณ์ พระชัยรัตน์ ชาวปลายคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน Ep.02

  สัมภาษณ์ พระชัยรัตน์ (พระหมู) ตอนที่ 2 (สัมภาษณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2561)                เชิญรับฟังเรื่องเล่าวันวานจากประสบการณ์ พระชัยรัตน์ ชาวปลายคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความซุกซนในวัยเด็ก วัยรุ่น ชีวิตความเป็นอยู่ย่านประตูน้ำอ่างทอง ความอุดมสมบูรณ์ของปลายคลองภาษีเจริญต่อกับต่อแม่น้ำท่าจีน ตอนที่ 2      - วัยรุ่นตีกันในงานวันปีใหม่      - โรงงานย่านกระทุ่มแบนสมัยก่อน      - การเดินทางจากย่านอ่างทองไปตลาดกระทุ่มแบนในสมัยก่อน      - การเดินทางจากอ้อมน้อยเข้ากระทุ่มแบนในสมัยก่อน      - รถเมล์สาย 302 ก่อนจะมีสาย 85      - ป่าจากริมแม่น้ำท่าจีน / ตงเสีย / ท่าเสา      - พายเรือไปส่งหลวงพ่อแง วัดเจริญสุขาราม      - ทิ้งถ่วง (หิ่งห้อย) ริมน้ำ      - โรงวุ้นเส้นสิทธินันท์ ปากคลองดำเนินสะดวก บางยาง

เรื่องเล่าวันวานจากประสบการณ์ พระชัยรัตน์ ชาวปลายคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน Ep.01

สัมภาษณ์ พระชัยรัตน์ (พระหมู) ตอนที่ 1 (สัมภาษณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2561)                     เชิญรับฟังเรื่องเล่าวันวานจากประสบการณ์ พระชัยรัตน์ ชาวปลายคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความซุกซนในวัยเด็ก การเรียน ชีวิตความเป็นอยู่ย่านประตูน้ำอ่างทอง ความอุดมสมบูรณ์ของปลายคลองภาษีเจริญต่อกับต่อแม่น้ำท่าจีน ตอนที่ 1  ⁃ บ้านโรงสีไทยเทียนทอง 2  ⁃ ต้นสนริมน้ำวัดอ่างทอง  ⁃ เล่นน้ำกร่อยปลายคลอง  ⁃ บรรยากาศทิ้งถ่วง(หิ่งห้อย) ในสมัยก่อน  ⁃ เล่นว่าวในท้องนาช่วงหน้าร้อน  ⁃ เรือผีหลอกหาปลาช่วงหน้าหนาว  ⁃ ตกกุ้ง จับกุ้งใหญ่  ⁃ จับกบมากินจากท้องนาได้เต็มตะข้อง  ⁃ วิธีนำกบมาประกอบอาหาร  ⁃ วางตังค์หน้าสวนอ้อย แล้วหักกินจนอิ่ม  ⁃ เรือโยง เรือผักคอยเข้าประตูน้ำอ่างทอง  ⁃ ให้เช่าทำนา แบ่งตวงข้าวให้โรงสี  ⁃ เรือขนทรายจากบางนกแขวก  ⁃ พบเพื่อนเก่ากระทุ่มแบนที่เชียงใหม่  ⁃ อาหาร ผัดไทย หอยทอดย่านประตูน้ำอ่างทอง  ⁃ ท่าองุ่นขึ้นของของตาเริญ  ⁃ อู่เรือตาเล็กย่านประตูน้ำอ่างทอง  ⁃ เจอผีระหว่างทางไปวัดอ่างทอง  ⁃ ตำรวจจับเพราะเดินผ่านแถวซ่อง  ⁃ ตำรวจกระทุ่มแบนรุ่นเก่า

การจัดตั้งดับเพลิงเทศบาลขึ้นเป็นครั้งแรกของกระทุ่มแบน

          หากจะกล่าวถึงเรื่องการบรรเทา และป้องกันสาธารณภัย หรือจะเรียกสั้นๆ แบบชาวบ้านว่า การดับเพลิงในสมัยก่อนของกระทุ่มแบน ก็คงต้องย้อนไปในสมัยที่ขุนสุคนธวิทศึกษากร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งดับเพลิงของเทศบาลขึ้น โดยเท่าที่ผมมีข้อมูล ไม่มีการกล่าวถึงปีจัดตั้งครั้งแรก แต่อยู่ในช่วงที่ขุนสุคนธวิทศึกษากรดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีแน่นอน ซึ่งอยู่ในช่วง 12 พฤษภาคม 2488 - 29 เมษายน 2501              ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอางค์ สุคนธวิท) และใน สมุดบันทึกด้วยลายมือของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ที่บันทึกโดย คุณประชุม เณรจิตต์ ข้าราชการบำนาญ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน และ อสม. ชุมชนดอนไก่ดี เมื่อ 15 ตุลาคม 2543 ประมวลแล้วก็มีระบุไว้เพียง             "มีการจัดตั้งดับเพลิงเทศบาลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้เรือจากกระทรวงมหาดไทย 2 ลำ และมีเจ้าหน้าที่ประจำพร้อม" เรือดับเพลิงกระทุ่มแบนทั้ง 2 ลำ จอดอยู่ในคลองภาษีเจริญ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน เมื่อราว ยุค 2510 กว่า             ครั้งหนึ่งผมเคยสอบถาม  ลุงแดง หรือนา

แผนที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2503

 ภาพแผนที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2503          ผมได้ภาพต้นฉบับมาจากแม่ค้าของสะสมท่านหนึ่งในเฟซบุ๊ก ราว 2-3 ปี ก่อน แต่เพิ่งได้มีโอกาสนำไปสแกนเป็นไฟล์ดิจิทัลและนำมาเสนอให้ได้ชมกันครับ          แผนที่นี้ช่วยไขคำตอบจากภาพพาโนรามาสมุทรสาครที่แอดมินเคยลงไว้ในเพจเมื่อ 2-3 ปีก่อน เพราะช่วยอธิบายตำแหน่งอาคารบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครได้เป็นอย่างดี  ซึ่งจะเตรียมนำเสนอในโอกาสต่อไป ภาพพาโนรามาสมุทรสาคร เจ้าของภาพ : แอดมินเพจกระทุ่มแบนโฟโต้          ขอคัดลอกข้อมูลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติมอีกสักหน่อยนะครับ จากบทความเรื่อง "ฐานข้อมูลแผนที่อำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2503" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญ์  เจียรมณีโชติชัย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ว่า           "แผนที่อำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทยเป็นแผนที่ในระดับเมืองฉบับแรกที่แสดงตัวเมืองต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางการปกครองและที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากบริเวณกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ประกอบด้วยแผนที่ อำเภอเมือ

"ครูสำราญ ควรประดิษฐ์" ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านคลองแค

            ครูสำราญ ควรประดิษฐ์ เกิดที่ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2457 เป็นบุตรคนที่ 4 ของคุณปู่ควร และคุณย่าเทียบ ควรประดิษฐ์ ซึ่งมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 6 คน คือ            1. นายชาย โมเลี้ยง            2. นายเชย ควรประดิษฐ์            3. นางเชื้อ แจ่มถนอม            4. นายสำราญ ควรประดิษฐ์            5. นายเบี้ยว โมเลี้ยง            6. นายบุญส่ง ควรประดิษฐ์             เมื่อครูสำราญ ยังเยาว์ ท่านเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และเฉลียวฉลาด คุณปู่จึงได้ส่งคุณพ่อไปศึกษา              ครั้งแรก พ.ศ. 2466 - โรงเรียนประชาบาล ต.สามพราน สอบไล่ได้ ป.2             พ.ศ. 2468 - โรงเรียนประถมวัดทองนพคุณ สอบไล่ได้ ป.3             พ.ศ. 2469 - โรงเรียนมัธยมสุขุมาลัย สอบไล่ได้ ม.3             พ.ศ. 2472 - โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอบไล่ได้มัธยมปีที่ 7 ชีวิตราชการ               คุณสำราญรับราชการครั้งแรกเป็นครูใหญ่ ที่ โรงเรียนวัดโคกพระเจดีย์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ในอัตราเงินเดือนเพียงเดือนละ 20 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2478 ท่าน ได้เรียนด้วยตัวเอง สมัครสอบสนามสอบ จ.นครปฐม ก็

หอประปาถังสูง เทศบาลตำบลกระทุ่มแบน เมื่อราว พ.ศ. 2500-2505

บริเวณเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน (ในขณะนั้น) มองเห็นหอประปาถังสูง เมื่อราว พ.ศ. 2500-2505 การประปาของเทศบาลตำบลกระทุ่มแบนครั้งแรกนั้น ริเริ่มโดยขุนสุคนธวิทศึกษากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 โดยมีข้อมูลที่บันทึกไว้ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของขุนสุคนธวิทศึกษากรในช่วงหนึ่งไว้ว่า "..เป็นผู้เริ่มจัดตั้งการประปาเทศบาลขึ้นเบ็นครั้งแรกเมื่อปี 2489 แต่มิได้ต่อท่อธารไปยังบ้านเรือนของประชาชน คงจำหน่ายน้ำอยู่กับที่ ณ โรงสูบนั้นเอง  ต่อมาเมื่อบี 2500 ได้ปรับปรุงการประปาขึ้นใหม่  โดยสร้างหอถังสูง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำใหม่ และต่อท่อธารไปยังบ้านเรือนของประชาชน เบีนผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้มาก มีน้ำบริโภคและใช้สอยบริบูรณ์" -- 📷 ขอบคุณเจ้าของภาพ | คุณเรวัต แซ่โง้ว 📣 เผยแพร่ภาพ | เพจกระทุ่มแบนโฟโต้ 📄 ข้อมูลเรื่องประปาเทศบาล | หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของขุนสุคนธวิทศึกษากร 28 ก.พ. 2506 --- 🖼  อยากให้สำเนาภาพเก่า 📙 บริจาคภาพเก่า หรือหนังสือเก่าเกี่ยวกับกระทุ่มแบนเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน  📬 ติดต่อได้ทาง inbox นะครับ