ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หยุดสงกรานต์ เที่ยวงานวัดอ่างทอง

หยุดสงกรานต์ปี 2562 นี้ หลายคนออกเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด หลายคนไปไกลถึงต่างประเทศ แต่บางคนก็เลือกที่จะพักผ่อนอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงความพลุกพล่าน สำหรับวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ ผมเลือกที่จะเหลือวันหยุดบางส่วนเพื่อกลับบ้าน มาพักผ่อนกับครอบครัว และตั้งใจว่าจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับกระทุ่มแบนสักเรื่องหนึ่ง

เมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านี้ได้อ่านเฟสบุ๊คของพี่ที่เคารพท่านหนึ่งเรื่องงานประจำปีวัดอ่างทองซึ่งจัดขึ้นวันที่ 13-15 เม.ย. โดยตรงกับวันหยุดสงกรานต์พอดี ประกอบกับส่วนตัวผมเองอยากไปร่วมงานที่เกี่ยวกับกระทุ่มแบนในหลายๆ งานที่ผ่านมา แต่ติดธุระบ้าง ติดทำงานบ้าง แต่คราวนี้ผมตั้งใจว่าต้องไปเดินเล่นชมบรรยากาศ ไหว้พระขอพรให้ได้

ผมกลับมาถึงบ้านช่วงบ่ายๆ และขับรถไปที่วัดอ่างทองในช่วงเย็นๆ เกือบค่ำ เข้าลานจอดรถที่ทางวัดและคณะกรรมการจัดงานตระเตรียมไว้รองรับชาวบ้านใน ลานกว้างขวาง

นานเท่าไหร่แล้วนะ ที่ผมไม่ได้ออกมาเดินเล่นงานวัด ชมบรรยากาศบ้านๆ ในพื้นที่บ้านเกิดของผม กับวันที่ลมพัดยอดไม้พอไหวๆ แต่ไม่หายร้อน 

ผมไล่เดินชมบรรยากาศริมแม่น้ำท่าจีน ที่เปลี่ยนไปจากหลายปีก่อนที่ผมมาสำรวจไว้ มีการทำเขื่อนคอนกรีตกันน้ำกัดเซาะ และศาลาริมน้ำ 

บรรยากาศร้านค้า และบริเวณวัดที่ตกแต่งด้วยไฟหลากหลายสีสัน


ภาพแรกที่ผมมองจากลานจอดไปยังบริเวณวัด มีการตกแต่งด้วยไปดูสดใส น่าครื้นเครงในวันสงกรานต์ มีการออกร้านค้า ร้านเครื่องเล่นหลากหลายประเภทจากหลายที่ มีจุดทำบุญ สรงน้ำพระ สำหรับพุทธศาสนิกชนไว้พร้อมสรรพ มีร้านจับฉลากลุ้นโชค ลุ้นรางวัลต่างๆ ให้ได้สนุกสนานกัน รวมถึงหนังกลางแปลงให้ชมกัน 2 จอด้วยกันบริเวณใกล้ๆ ลานจอดรถ

ผมแวะทำบุญที่หน้าทางเดินก่อนขึ้นไปไหว้องค์หลวงพ่อสุคโต และองค์หลวงพ่อรุ่งที่ด้านบนก่อน พร้อมเห็นมุมท้องฟ้าที่กำลังเปลี่ยนสีอย่างสวยงามเป็นฉากหลังองค์หลวงพ่อ และบรรยากาศการกราบไหว้ขอพรของชาวบ้านที่มาร่วมงาน







เดินลงมาสรงน้ำพระ และไปซื้อฉลากลุ้นรางวัลเพื่อร่วมทำบุญให้กับทางวัด โดยรางวัลทั่วไปคูปองอยู่ที่ใบละ 20 บาท สามารถลุ้นของทั่วไปขนม เครื่องดื่ม ของใช้ ตุ๊กตา ข้าวของ เครื่องใช้ทั่วไป ตู้เย็น พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ โดยรางวัลใหญ่ในแต่ละคืนจะมีมอเตอร์ไซค์มือสอง จำนวน 1 คัน

แต่ทว่าใครที่อยากลุ้นรางวัลพิเศษ ก็ต้องซื้อคูปองชุด 300 บาท ซึ่งจะได้บัตรพิเศษมาเขียนชื่อ และเบอร์โทร พับเก็บลูกไข่พลาสติกรอจับรางวัลในวันที่ 16 เม.ย. คืนสุดท้ายของงาน โดยรางวัลพิเศษนี้น่าสนใจมากครับ นั่นคือ  

1. เหรียญหน้าหนุ่มหลวงพ่อรุ่ง ปี พ.ศ. 2484 เลี่ยมทอง
2. สร้อยคอทองคำ 1 บาท
3. รถมอเตอร์ไซค์เวฟ ป้ายแดง

รางวัลพิเศษ


ตัวผมเองได้ลุ้นรางวัลพิเศษกับเขาเหมือนกันไป 1 คูปอง ส่วน คูปองใบอื่นๆ ได้มาม่า เครื่องดื่ม ขนม น้ำยาล้างจานกลับมา 3 ถุงหิ้วเลยครับ

สิ่งที่ได้เห็นและรู้สึกประทับใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การร่วมมือร่วมใจมาช่วยงานวัดในส่วนต่างๆ ของคณะกรรมการวัด และชาวบ้าน กันอย่างเต็มที่ มาช่วยงานด้วยใจและแรงศรัทธาที่มีต่อวัดจริงๆ แบบที่ผมสัมผัสได้ครับ

พรุ่งนี้ 16 เม.ย. วันสุดท้ายของงานปีนี้แล้วครับ ชาวกระทุ่มแบนท่านไหนที่มองหาที่เที่ยวเดินเล่น พร้อมการลุ้นโชค และได้บุญด้วยก็ขอเชิญชวนครับ หยุดสงกรานต์ เที่ยวงานวัดอ่างทองกันครับ แนะนำว่าไปช่วงแดดร่มลมตกเย็นๆ ก่อนแสงแดดจะหมดเล็กน้อยจะได้บรรยากาศท้องฟ้าที่สวยงามคู่กับบรรยากาศงานวัดครับ


ตักบาตรนพเคราะห์
จุดถวายสังฆทาน

  
จุดสรงน้ำพระ
จุดทำบุญโยนเหรียญ


บรรยากาศวัดที่ประดับตกแต่งสวยงาน
จุดจับฉลากลุ้นรางวัล

เครื่องเล่นสำหรับเด็กๆ
หนังกลางแปลง 2 จอ

ชาวบ้านทำบุญ ไหว้พระ ปิดทอง หลวงพ่อสุคโต และหลวงพ่อรุ่ง








โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo