ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กินทุเรียนฟรีไม่อั้น...วันแรงงานที่ "วัดท่าไม้"



เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางวัดท่าไม้ที่น่าสนใจสำหรับคนชอบกินทุเรียน เพราะเมื่อวันสองวันมานี้ ทางเพจวัดท่าไม้ ได้โพสต์เชิญชวนประชาชนไปรับประทานทุเรียนฟรีแบบไม่อั้นเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2562 นอกจากได้อิ่มท้องแล้ว ยังได้มีโอกาสมาทำบุญไหวพระในโอกาสเดียวกันด้วย นอกจากนี้ที่แพริมน้ำยังมีอาหาร เครื่องดื่มทุกอย่าง ผลิตภัณฑ์ ลด 10% มีของฝาก พืชผักผลไม้ ไข่ไก่สดจากฟาร์มมากมาย โดยมีข้อความว่า



#ไม่อิ่มไม่ต้องกลับ มากันทั้งบ้าน ขนกันมาทั้งจังหวัด
วัดท่าไม้ ตอบแทคุณแผ่นดิน สุขใดจะเท่ากับเห็นรอยยิ้ม
ของประชาชน ทุกคนต้องอิ่มไม่หิ้ว มีความสุขกลับไป
ไทย พม่า มอญ กระเหรี่ยง เขมร จีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง ลาว มาเล ฮองกง เวียดนาม และอีกหลายประเทศ ทานฟรี
วัดท่าไม้ สาธุ 45



 #ไม่อิ่มไม่ต้องกลับบ้าน พากันมาทั้งบ้านขนกันมาทั้งจังหวัด กินฟรี !”
วันแรงงานแห่งชาติ แพริมน้ำ อาหารเครื่องดื่มทุกอย่างผลิตภันฑ์ ลด10% ซื้อของฝาก แสนอร่อย พืชผักผลไม้ ไข่ไก่สดๆจากฟาร์ม ถูกสุดๆ ได้บุญอิ่มใจ
#ทานฟรี และมีขนมจีนแกงไก่ น้ำพริก นำ้ยาปลาแสนอร่อย ผักนานาชนิด และทานทุเรียนฟรี ทุกท่านได้เต็มอิ่ม
ให้ได้รับประทานฟรีตลอดวัน แรงงานแห่งชาติ โครงการวัดท่าไม้แทนแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ นายหลวง ร.๙ ร.๑๐
และช่วยลดภาระพี่น้องประชาชน พี่น้องแรงทุกท่าน ที่ได้ร่วมทำงานเสียภาษี ช่วยประเทศชาติ ทำงานมา และยังท่องเที่ยวสะสมบุญกราบพระนิพพาน ศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระพุทธบัญชรฯพระธัมจักรแก้ว พระเจ้าน้ำเงินนำ้ทอง และขอพรหลวงปู่รุ่ง ถวายสังฆทาน สร้างบารมี รับพระจากพระอาจารย์ ให้โชคดี ร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง มีสุข อิ่มบุญ อิ่มใจทั้งครองครัว ได้เที่ยวตลาดนำ้พาเพลิน แวะชิมของอร่อย ชื่อของฝาก ผลิตภันฑ์สมุนไพร รมาญา (พร้อมรับแจกวัตถุมงคลติดรถไว้ )
#จากคณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกา กรรมการวัดท่าไม้


การทำบุญครั้งนี้เจ้าภาพคณะศิษย์ ร่วมมือกันคนละเล็กละน้อย ตั้งใจ ทำทานบารมี แจกทุเรียน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทย ที่ปลูกทุเรียนประกาศ ให้ทุกคนไทยและทั่วโลกว่า ผลไม้ไทย อร่อยที่สุดในโลก ซี่งตอนนี้ราคาแพง ผู้ใช้แรงงานทำงานมาเหนื่อย มีภาระครอบครัว ค่าแรงก็ไม่สูง จะทานก็คง ได้น้อย ให้พี่น้องแรงงาน ที่ร่วมกันทำงาน พัฒนาประเทศ ให้ก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง ได้ทานทุเรียนที่ดี และอาหาร เมนูต่างๆ มากมาย ที่เจ้าภาพ มาร่วมกัน ให้ทุกท่านได้ท่าน อย่างเต็มอิ่ม ทั้งครอบครัว พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อฝูง ยังมีสิ้นค้า ผลิตภัณฑ์ต่างจาก รมายา ของฝาก อุปโภคต่างมากมาย ได้ซื้อกลับบ้าน จากมูลนิธิสิริสาโร เพื่อเด็กยากจนฯ โครงการนี้เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาส พระราชพิธี บรมราชาภิเษก มหามงคลแห่งสยามประเทศ ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกา คณะกรรมการ คณะศิษย์วัดท่าไม้ จะได้มีโอกาศ แทนคุณแผ่นดิน ตอบแทนทำเพื่อประชาชน
วัดท่าไม้


ภาพและข้อมูลจาก เพจวัดท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...