ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ นายอำเภอลำดับที่ ๕ แห่งกระทุ่มแบน

เมื่อประมาณ ๒-๓  ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑) ผมได้หนังสือเก่าเกี่ยวกับกระทุ่มแบนมาเพิ่มเติมอีกหนึ่งเล่ม เมื่อพิจารณาดูหน้าปกแล้วชื่อไม่คุ้นตาเลย แต่เมื่อเริ่มพลิกอ่านประวัติถึงกับต้องร้อง อ๋อ...

บุคคลท่านนี้คืออดีตนายอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ลำดับที่ ๕ ซึ่งหนังสือเล่มนี้นับเป็นข้อมูลนายอำเภอเก่าที่สุดของกระทุ่มแบนเท่าที่ผมเคยอ่านเจอมา ที่สำคัญในหนังสือเล่มนี้มีรูปถ่ายเกือบเต็มตัวในเครื่องแบบของท่านด้วย

นอกจากนี้ผมยังเคยได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณลุงจำลอง อายุประมาณ ๗๐ ปี ในย่านท่าเสา ซึ่งทำให้ทราบว่าคุณลุงเป็นหลานหลวงโกสุมศิริเขตร์ บ้านของคุณหลวงโกสุมฯ อยู่ถัดเข้าไปไม่ไกลมากนักจากบ้านของคุณลุง


รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ (เริก บุนนาค)นายอำเภอกระทุ่มแบน ลำดับที่ ๕ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๑

รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ (เริก บุนนาค) (*คุณลุงจำลองให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าชื่อเดิมท่านคือ สุดใจ บุนนาค) เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๑๓
ที่บ้าน ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  เป็นบุตรของ พระยาสมุทรสาครานุรักษ์ (สุด บุนนาค) 
เจ้าเมืองสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) หรือที่เรียกกันว่า ‘เจ้าคุณท่าจีน’ และ คุณหญิงสมุทรสาครานุรักษ์ (สมบุญ บุนนาค)

พระยาสมุทรสาครานุรักษ์ (สุด บุนนาค)
ภาพจาก FB:ประชาคมเกษตรเจ้าคุณ


รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ ได้สมรสกับนางเอี่ยม ที่บ้านท่าเสา ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

หลังจากลาออกจากราชการแล้วได้กลับมาอยู่ที่บ้านท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และยังได้ช่วยราชการตามควรแก่โอกาส เช่น รับเป็นผู้อุปการะโรงเรียนประชาบาลตำบลท่าเสา ๑ (ท่าเสาพิทยาคาร วัดท่าเสา) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ (ปีเริ่มตั้งโรงเรียน) ตลอดมาจนถึงแก่กรรม

นอกจากนั้น 
พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านยังเคยเป็นผู้แทน ต.ท่าเสา 
พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมุทรสาคร เป็นกรรมการตรวจคะแนนในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ประจำหน่วยตำบลท่าเสา

ท่านป่วยเป็นไข้และปอดอักเสบเนื่องจากโรคหอบหืดกำเริบ และอาการทรุดลงจนถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ เมื่อ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๔ รวมอายุได้ ๘๑ ปี

---
สรุป ตัดตอน คัดลอกจากหนังสือที่เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ (เริก บุนนาค) ณ เมรุวัดท่าเสา ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๔

หน้าปกหนังสือที่เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงโกสุมศิริเขตร์ (เริก บุนนาค)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...