ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปิดกรุ..!! รายการสิ่งของบริจาคในวันเปิดอาคารเรียนโรงเรียนศรีบุณยานุสสรณ เมื่อเกือบ ๙๐ ปีที่แล้ว


โรงเรียนศรีบุณยานุสสรณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔
ภาพจากหนังสือที่ระลึกในการฉลองโรงเรียน "ศรีบุณยานุสสรณ" และสะพาน "เริงบุญ"

โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ โรงเรียนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของตลาดกระทุ่มแบนที่เชื่อได้ว่ามีศิษย์เก่าเป็นคนกระทุ่มแบนสำเร็จการศึกษาจากที่นี่จำนวนมากมาย

ในเรื่องเกี่ยวกับประวัติโรงเรียนนั้นผู้เขียนขอยกยอดไว้ในโอกาสถัดไป โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องสิ่งของบริจาคจากประชาชนผู้มีใจเป็นสาธารณะในเหตุการณ์เมื่อครั้งการทำพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง เมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๗๕ (ในราชกิจจานุเบกษาแจ้งไว้ว่าเป็นการทำพิธีเปิดโรงเรียนประจำอำเภอกระทุ่มแบน "ศรีบุณยานุสสรณ")

นายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง
ภาพจากหนังสือที่ระลึกในการฉลองโรงเรียน "ศรีบุณยานุสสรณ" และสะพาน "เริงบุญ"

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนศรีบุณยานุสสรณ เมือ พ.ศ. ๒๔๗๕
ภาพจากโรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์

ภาพถ่ายนักเรียนหน้าอาคารเรียนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ มองเห็นซุ้มอนุสรณ์นายเซียว ซอง อ๊วน
ภาพจากคุณไพรรัตน์ สมพลวัฒนา (นามสกุลเดิม พงษ์ศิวาภัย)

นอกจากนอกจากซุ้มคอนกรีตประดิษฐานรูปนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ซึ่งหล่อด้วยทองแดงอันเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีของคนกระทุ่มแบนและศิษย์เก่าจากโรงเรียนแห่งนี้แล้ว ผู้เขียนยังคิดว่าสิ่งของบริจาคในครานั้นที่มีผู้มอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน ยังมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ โดยได้คัดลอกและสรุปเป็นลำดับดังนี้ (สะกดตามต้นฉบับ)

๑. นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง สร้างถังน้ำคอนกรีตให้ ๑ ใบ ราคา ๑๕๐ บาท และให้รูปนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ๒ รูป ราคารูปละ ๒๐ บาท รวม ๑๙๐ บาท

๒. พระพิศาลพาหนชน ให้ถังน้ำคอนกรีต ๑ ใบ ราคา ๑๕๐ บาท โต๊ะประชุมรูปไข่ ๑ ตัว ราคา ๒๐ บาท รวม ๑๗๐ บาท

๓. นางเนื่อง สีบุญเรือง ให้ถังน้ำคอนกรีต ๑ ใบ ราคา ๑๕๐ บาท นาฬิกาลอนดอน ๑ เรือน ราคา ๑๖ บาท

๔. ขุนสุคนธวิทศึกษากร ให้หม้อกรองน้ำเคลือบ ๑ ใบ ราคา ๒๘ บาท

๕. นายและนางทีหวย สุยะนันท์ กับนายและนางพัฒน์ หลิมเจริญ ให้ตู้ใส่หนังสือรายละ ๑ ใบ รวม ๒ ใบ ราคาใบละ ๑๖ บาท

๖. นายเทียมเข่ง ให้โต๊ะและเก้าอี้รับแขก ๑ ชุด ราคา ๑๖ บาท

๗. นายเลื่อนและนางปรานี จุละโพธิ ให้แผนที่ประเทศสยามอย่างใหญ่กรุผ้าระบายสีแบ่งมณฑล ๑ แผ่น ราคา ๑๕ บาท ๔๓ สตางค์

๘. นายอี่ เฮี้ยนชาศรี ให้โต๊ะหมู่บูชาพระ ๑ ชุด ราคา ๑๒ บาท

๙. นายกิมลั้ย เคียงศิริ นายจู๋ นายวัดเส็ง นายอี่ นายอู๋ ให้โต๊ะครู เก้าอี้ กะปุกหมึกและที่วางด้ามปากกา คนละ ๑ ชุด ชุดละ ๑๐ บาท

๑๐. นายพุก แซ่ลิ้ม ให้พระบรมรูปรัชชกาลปัจจุบันชะนิดตั้ง ๑ พระรูป ราคา ๑๐ บาท

๑๑. หลวงเดิมบางบริบาล ให้พระบรมรูปรัชชกาลที่ ๕ ขนาด ๒๔ นิ้ว พร้อมกรอบ ๑ พระรูป ราคา ๗ บาท ๕๐ สตางค์ และให้รูปของหลวงเดิมบางบริบาลอีก ๑ รูป ราคา ๖ บาท

๑๒. นายมงคล พวงพงษ์ นายซุ่นฮก เติมประยูร นายบุญมาก โพธิพันธ์ นายเหม้น ไวยะวงษ์ ให้พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๗ รัชชกาล ขนาด ๒๔ นิ้ว พร้อมทั้งกรอบ คนละ ๑ พระรูป ราคาพระรูปละ ๗ บาท ๕๐ สตางค์

๑๓. นายไล่อู่ เปี่ยมเพิ่มผล กับห้างถ่ายรูปสยามจำลองลักษณ์ ให้พระรูปสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระรูปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตคนละพระรูป ราคาพระรูปละ ๗ บาท

๑๔. พระยาสุรพันธ์เสนี และพระพิชัยบุรินทรา ให้รูปของตนพร้อมทั้งกรอบคนละละรูป ราคารูปละ ๖ บาท

๑๕. หลวงสรรพพากย์พิสุทธิ์ กับขุนประจิตดรุณแพทย์ ให้รูปของตนคนละรูป ราคารูปละ ๕ บาท

๑๖. นายจำรัส แก้วพร้อม ให้ถังน้ำสังกะสี ๔ ใบ ราคา ๑ บาท

สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)
ภาพจาก
https://th.wikipedia.org
พระรูปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต
(มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร)
ภาพจาก
https://th.wikipedia.org
หลวงเดิมบางบริบาล (ตังกุย กุณฑลบุตร)
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงเดิมบางบริบาล (นายเดิม กุณฑลบุตร)
พระยาสุรพันธ์เสนี
(พันเอกพระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) )
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)

หลวงสรรพพากย์พิสุทธิ์
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสรรพพากย์พิสุทธิ์ 
ขุนสุคนธวิทศึกษากร
ภาพจาก
https://th.wikipedia.org
นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง
ภาพจากหนังสือที่ระลึกในการฉลองโรงเรียน "ศรีบุณยานุสสรณ" และสะพาน "เริงบุญ"

ตลอดระยะเวลาเกือบ ๙๐ ปี จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สิ่งของบริจาคต่างๆ ได้ยังประโยชน์และความรู้แก่ลูกหลานชาวกระทุ่มแบนที่ได้เข้าศึกษา ณ สถาบันแห่งนี้เป็นจำนวนมาก เชื่อได้เลยว่า หากผู้ใจบุญดังได้เอ่ยรายนามข้างต้นได้ทราบ คงจะมีความปลาบปลื้มใจเป็นแน่แท้ และคงจะเป็นเรื่องที่น่าปลาบปลื้มยิ่งขึ้นไป หากสิ่งของดังกล่าวยังคงมีหลงเหลือเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ประวัติของทางโรงเรียนสืบต่อไป แต่ก็คงเป็นเรื่องลำบากที่สิ่งของบางอย่างจะอยู่คงทนกับระยะเวลากว่า ๙๐ ปีได้ เชื่อได้เลยว่าโดยส่วนใหญ่คงเสียหาย สูญหายไปตามกาลเวลาและการใช้งาน ผู้เขียนเองก็ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปสอบถามกับทางโรงเรียนว่ามีสิ่งใดหลงเหลือเก็บรักษาไว้อยู่บ้าง แต่หากยังคงมีอยู่ก็อยากจะฝากทางโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องช่วยเก็บรักษาไว้เป็นส่วนหนึ่งส่วนสำคัญของทางโรงเรียนและชาวกระทุ่มแบนด้วยครับ หรือจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมสักห้องหนึ่งของทางโรงเรียนเองด้วยก็จะดียิ่งเลยเช่นกันครับ ^^

หมายเหตุ
• รองอำมาตย์โท ขุนประจิตดรุณแพทย์ อดีตศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร
• 
พระพิชัยบุรินทรา คือ พระยาพิชัยบุรินทรา (ฉ่ำ บุนนาค)
• ข้อมูลของบริจาคจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙

แอดมินกระทุ่มแบนโฟโต้
๒๘ มิ.ย. ๒๕๖๒

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo