ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั

จาก "วัดกุฏิเดียว" สู่ "ศาลหลวงตาทอง" ในปัจจุบัน

ย่านศาลหลวงตาทองเป็นอีกหนึ่งบริเวณที่เด็กซนอย่างผมเมื่อครั้งวัยเยาว์ต้องปั่นจักรยานไปเที่ยวเล่นวนไปมาผ่านศาลหลวงตาทอง วิ่งเล่นอยู่บริเวณพื้นที่ศาลอยู่ประจำ เมื่อถึงงานประจำปีแม่และพ่อก็จะพาซ้อนท้ายจักรยานบ้าง มอเตอร์ไซค์บ้างเพื่อมาชมงิ้ว ดูหนังในงานประจำปีศาล  ผมเองยังชอบยืนดูการแสดงงิ้วบนเวที ทั้งเครื่องแต่งกายต่างๆ เสียงร้องสูงที่ไม่เหมือนการแสดงของคนไทยทั่วไป บางครั้งก็ปั่นจักรยานไปคนเดียว ไปดูเขาแต่งหน้าทาแป้งด้วยสีสันสดใส เขียนคิ้ว ทาปากใต้เวที แต่กระนั้นก็มิได้สนใจในประวัติความเป็นมาของศาลหลวงตาทองเท่าใดนัก จวบจนเมื่อโตขึ้นรู้ความมากขึ้นจึงพอได้ฟังเรื่องราวที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังสั้นๆ หากจะกล่าวถึงประวัติหลวงตาทอง ผมก็นึกถึง หนังสือที่ระลึกงานฉลองศาลหลวงตาทอง เมื่อ ๒๕-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๕  ขึ้นมาทันที หนังสือเล่มนี้ผมเคยเห็นเมื่อสมัยผมเด็กๆ ครั้ง หนึ่ง แต่ก็ไม่มีเก็บและหาไม่เจออีกเลย จนกระทั่งช่วงออกค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกระทุ่มแบน ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณตาศิริ เติมประยูร มอบให้จำนวน ๑ เล่ม ภายในหนังสือเล่มนี้คุณตาศิริ เติมประยูร ยังได้ทำหน้าที่รวบรวม และเร