ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า
เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชัดเจนแขวนอยู่ที่หน้าร้านมาโดยตลอด นับตั้งแต่เด็กจนโตที่ผู้เขียนก็เดินผ่าน ขี่จักรจักรยานผ่าน และขับรถผ่าน หลายคนคงเดาได้ไม่ยากว่าร้านนี้คือ “ร้านกิมกี่” ที่อยู่คู่กระทุ่มแบนมากว่า ๙๐ ปี
ร้านกิมกี่ ริมคลองภาษีเจริญ ถ่ายเมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒ |
นับจากผู้เขียนจำความได้ก็เห็นร้านนี้มีมาตั้งนานแล้ว แต่ก็ไม่เคยได้รู้ประวัติเรื่องราวของร้านค้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในกระทุ่มแบนร้านนี้เลย วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะได้พูดคุยกับทายาทรุ่นที่ ๒ แห่งร้านกิมกี่ หลังจากได้โทรนัดหมายไว้เมื่อ ๓-๔ วันก่อนหน้านี้ครับ
ประมาณเที่ยงตรงผู้เขียนและพ่อไปถึงร้านกิมกี่ สาขาหอนาฬิกากระทุ่มแบนปากทางถนนสุคนธวิท ที่มาตั้งเพิ่มอีกแห่งเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐ และได้พบกับ “ลุงต๋ง : คุณพินิจ สิริยากร” หรือเจ้าของร้านกิมกี่ ชายรูปร่างสูง ในวัย ๗๒ ปี (เกิดปีกุน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๐) ที่ยังดูแข็งแรงและใจดี ท่ามกลางสินค้าเครื่องสังฆภัณฑ์นานาชนิดเต็มร้าน และคนที่เดินเข้าเดินออกมาซื้อของกันเป็นระยะ
ณ มุมแผงเลี่ยมพระภายในร้าน ลุงต๋งได้นั่งเล่าถึงประวัติของร้านกิมกี่ ไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับหยิบหนังสือที่พิมพ์ไว้ในโอกาส ๘๗ ปี ร้านกิมกี่ ที่ลุงต๋งได้จดบันทึกเรื่องต่างๆ ไว้มากมาย มาเปิดประกอบการเล่าในบางช่วงตอนด้วย ซึ่งผู้เขียนขอเรียบเรียงสรุปไว้ดังนี้
“ลุงต๋ง : คุณพินิจ สิริยากร” เจ้าของร้านกิมกี่ |
ร้านกิมกี่แห่งที่ ๒ บริเวณหอนาฬิกา กระทุ่มแบน ต้นถนนสุคนธวิท ภาพจาก Google |
กำเนิดร้านกิมกี่และเรื่องราวครอบครัว
เตี่ยเกิดที่บางจาก ส่วนแม่ผมชื่อ “งิ้มซี” หรือ “ประยงค์ เกิดที่อ้อมใหญ่ สามพราน ซึ่งอาศัยอยู่กับก๋งทำสวนผลไม้ มีขนาดประมาณ ๑๐-๒๐ ไร่ และมีร้านค้าเปิดอยู่ริมแม่น้ำชื่อ “เต็กกี่” เป็นสวนมีชื่อเสียงเรื่องผลไม้มาก โดยเฉพาะส้มโอ มักจะมีชาวพระนคร ข้าราชการ และบางครั้งมีขบวนเรือที่ประดับด้วยธงช้างมาจอดเป็นทิวแถวเพื่อมาเที่ยวที่สวนและซื้อผลไม้เป็นประจำ แม่บันทึกไว้ว่าลงมาช่วยขายตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี จนถึงช่วงอายุ ๑๘ ปีสวนเต็กกี่ถูกโจรปล้นบ้าน หลังจากนั้นแม่และอาม้า ก็ย้ายมาอยู่ที่ตลาดกระทุ่มแบน ตั้ง “ร้านกิมกี่” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนเมื่อแม่อายุ ๒๒ ปี ได้แต่งงานกับเตี่ย ชื่อ “เตี่ยตึ๊ง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕
ภาพถ่ายสำเนารูปลายมือคุณแม่ลุงต๋งที่เขียนประวัติไว้ |
“เตี่ยตึ๊ง” หรือ “ประสงค์” มีพี่น้อง ๓ คน โดยเตี่ยตึ๊งเป็นลูกคนโต มีอาชีพพายเรือขายหมู คนกลางชื่อ “เกษม” ทำงานรับราชการไปรษณีย์ ปลูกสวนกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียง คนสุดท้องชื่อ “วิฑูรย์” ได้มีโอกาสที่ดีไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น กลับมาเป็นผู้จัดการเหมืองทองคำโต๊ะโมะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และได้เป็นผู้จัดการคนแรกที่โรงงานสังกะสีตราสามดาวในภายหลัง
เตี่ย แม่ ลุงต๋งและพี่น้อง ภาพจากภาพจากหนังสือสัพเพเหระ ปี ๒๕๕๙ เล่ม ๒ |
เตี่ยประสงค์ และแม่ประยงค์ ของลุงต๋ง ภาพจากภาพจากหนังสือสัพเพเหระ ปี ๒๕๕๙ เล่ม ๒ |
แม่ของเตี่ยเป็นคนไทยแท้ มีลูก ๑๐ กว่าคนดังที่ปรากฏในภาพในหนังสือ แม่ยายของเตี่ยลุงต๋งนี้พอจะมีสมบัติพอให้เตี่ยมาสร้างโรงไม้กระดานจำนวน ๖ ห้องชื่อ “ศรีไทย” โดยเช่าที่คุณบุญมี กรรณสูต อยู่ฝั่งตรงข้ามร้านกิมกี่ที่แม่ขายของอยู่ ซึ่งน่าจะนับได้ว่าเป็นโรงไม้กระดานแห่งแรกในกระทุ่มแบน สมัยเด็กๆ ผมมักจะไปอาศัยอยู่ที่โรงกระดาน เพราะข้างบนโรงกระดานเตี่ยลุงต๋งทำซุ้มกล้วยไม้ไว้ ซึ่งภายหลังเตี่ยก็ยังมาทำเป็นอาชีพด้วย เรื่องการซื้อขายในสมัยนั้นทำโดยทางน้ำหมดทำให้ผมพายเรือแจวเรือเป็นจนวันนี้ ภายหลังเตี่ยเสียชีวิตไป เลยให้พี่ชายผม (คุณชรัตน์) ดูแล และตอนหลังพี่ชายได้ขายทั้งที่และอาคาร และย้ายไปอยู่ที่ตึกพาณิชย์จำนวน ๒ ห้องย่านหอนาฬิกากระทุ่มแบน ซึ่งเป็นแนวตึกเดียวกันกับพี่น้องคนอื่นๆ ยาวถึงธนาคารกสิกรไทยในปัจจุบัน ส่วนผมเองนั้นตอนมาอยู่ไม่ได้ตึก แต่เตี่ยเว้น ที่ไว้ ๙๙ ตารางวาตรงมุมพื้นที่มุมแหลมปากทางถนนสุคนธวิท ในภายหลังภรรยาผม (คุณศิริวรรณ เพ็งปาน) ได้ปลูกทาวเฮ้าส์ย่านหลังโลตัสกระทุ่มแบนขาย และเก็บหอมรอมริบร่วมนำเงินมาสมทบในการปลูกตึกหลังปัจจุบันนี้ โดยตึกนี้ผมเป็นผู้ให้แนวคิดในการออกแบบ และมีลูกชายคุณกิมเซี๊ยะเป็นสถาปนิกวาดแบบ ผู้ก่อสร้างก็คือคนที่สร้างธนาคารออมสินทั่วไทยมาก่อสร้าง
ร้านกิมกี่ขายอะไร?
“กิมกี่” ในชื่อร้านนี้เมื่อเขียนออกมาเป็นภาษาจีนกลาง ออกเสียงว่า “จินจี่” แปลว่า “ของที่ระลึก” คำว่า ”จี่” แปลว่า “ของที่ระลึก” หากเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วก็จะออกเสียงว่า “กิมกี่” แยกคำว่า “กิม” ออกมาจะแปลว่า “ทอง” คำว่า “กี่” แปลว่า “ค้าขาย” ซึ่งเขียนต่างกัน
“กิมกี่” ในชื่อร้านนี้เมื่อเขียนออกมาเป็นภาษาจีนกลาง ออกเสียงว่า “จินจี่” แปลว่า “ของที่ระลึก” คำว่า ”จี่” แปลว่า “ของที่ระลึก” หากเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วก็จะออกเสียงว่า “กิมกี่” แยกคำว่า “กิม” ออกมาจะแปลว่า “ทอง” คำว่า “กี่” แปลว่า “ค้าขาย” ซึ่งเขียนต่างกัน
ป้ายชื่อร้านกิมกี่ดั้งเดิม ย้ายมาติดตั้งในร้านสาขา ๒ ถ่ายเมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒ |
หน้าร้านกิมกี่ริมคลองภาษีเจริญ ถ่ายเมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒ |
“ร้านกิมกี่” บ้านไม้ริมคลองที่แม่ผมเช่าอยู่นั้น ก็ค้าขายผ้าต่างๆ มีเสื้อคอกระเช้าขายเป็นหลัก ผ้าถุง โสร่ง ผ้าลายผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน โดยมุ้ง หมอน ที่นอนทางร้านเย็บและยัดที่นอนเองและยังมีผ้าดำย้อมมะเกลือมีชื่อเสียงอันดับต้นที่มีทั้งชาวนา ชาวสวนจากสมุทรสาคร หนองแขม นั่งเรือกันมาขึ้นศาลาท่าน้ำขึ้นมาซื้อมากมาย โดยร้านค้าทั่วไปในสมัยนั้นจะมีเตียงขนาดยาวประมาณ ๒ เมตร กว้างประมาณ ๒ เมตร ตั้งหน้าร้านคนขายนั่งพับเพียบขายของ โดยร้านกิมกี่ก็นำผ้าดำย้อมมะเกลือมาวางแบขายให้ลูกค้าดูด้วยโดยซื้อเป็นหลาเป็นเมตร แล้วลูกค้าก็ไปจ้างตัดกัน แต่ในช่วงที่ผมโตเป็นวัยรุ่นก็เริ่มจะมีแบบสำเร็จรูปมาขายแล้ว โดยซื้อขายกันเป็น ผ้าดำทางร้านไม่ได้ย้อมเองแต่รับมาจากร้านประจำที่ย้อมมาส่งอีกต่อหนึ่งแต่ไม่ทราบที่ ซึ่งปัจจุบันผ้าดำก็เลิกขายไปแล้ว ส่วนกางเกงขาก๊วยก็ยังมีวางขายอยู่ ส่วนในยุคหลังก็มีเครื่องบวช เครื่องสังฆภัณฑ์เพิ่มเข้ามาขายด้วย
ภายในร้านกิมกี่ริมคลองภาษีเจริญ ถ่ายเมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒ |
ลุงต๋งเล่าเพิ่มเติมถึงคุณแม่และเตี่ยว่า “คุณแม่จะบริหารยุ่งกับการค้าขายที่ร้าน และเลี้ยงลูก จึงทำอาหารไม่ค่อยเก่ง ส่วนเตี่ยจะดูแลโรงไม้กระดาน”ส่วนสโลแกนทางร้านที่ผมคิดขึ้นมาและภาคภูมิใจ หัวเราะยิ้มได้ เพราะเป็นที่ติดหูของคนตลาดกระทุ่มแบนหลายๆ คน ที่เมื่อได้พบกับผมก็มักมีคนท่องให้ฟังอยู่เสมอ นั่นก็คือ
“ความแค้นของยุง คือมุ้งกิมกี่
ที่นอนดีๆ คือเวทีมาตรฐาน
บวชสำเร็จอรหันต์ ใช้สังฆภัณฑ์กิมกี่”
สโลแกนนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงที่ข้างถุงกระดาษแบบไม่มีจีบ ของทางร้านที่จะใส่ของให้ลูกค้าที่มาซื้อโดยยังมีเวอร์ชันหลังในถุงจะมีเพิ่มอีกประโยคคือ “ร้านเก่าคนขายแก่” ซึ่งถุงกระดาษนี้ทางผมเองก็ไม่มีเก็บเหลือไว้เลย แต่ได้เคยไปพบที่ร้านกาแฟชื่อ “วันวานบ้านกาแฟ” ย่านวัดท่ากระบือ โดยมีคุณวัฒนาชาติ พวงกิจจา เป็นเจ้าของร้าน ใส่กรอบแขวนไว้ติดผนังโชว์ไว้ที่ร้าน โดยอยากจะขอซื้อกลับ แต่ทางร้านยังรักและชอบสะสมอยู่ เลยไม่ได้กลับมา ผมยังบอกหลายๆ คนต่อว่าใครมีถุงร้านกิมกี่ ให้นำมาขายผมได้
ถุงสำหรับใส่ของให้ลูกค้าของร้านกิมกี่ ในยุค ๒๕๐๐ ต้นๆ ภาพจากหนังสือสัพเพเหระ ปี ๒๕๕๙ เล่ม ๒ |
กระทุ่มแบนในความทรงจำเมื่อวันวาน
ลุงต๋งยังเล่าบรรยากาศริมคลองภาษีเจริญหน้าร้านกิมกี่ให้ฟังอีกว่า
“น้ำในสมัยก่อนใสสะอาดมาก ตกปลากระโดดน้ำเล่นได้ แค่ยอดผักชีเกี่ยวเบ็ดก็วักเอาปลาะเพียนขึ้นมาได้แล้ว ครั้งหนึ่งลูกหมอไปล่ ชื่อพุก ชื่อสุข เอาเรือพายกันออกไปแถวหลังศาลแป๊ะกง เอาเตาใส่เรือกันไป เอาถ่านไปด้วย พอตกปลาตะเพียนมาได้ ขอดเกล็ดเดี๋ยวนั้นย่างเดี๋ยวนั้น ในคลองภาษีเจริญก็เช่นเดียวกัน ได้ทั้งกุ้ง ปลาตะเพียน กุ้งบางทีจับไปถูกตัวเลย ที่มากสุดคือปลาบู่ ไปจับกันที่เขื่อนพี่ดิษ เขื่อนแป๊ะกง ต้องเอาเหยื่อไปแหย่ที่ปากมันถึงจะกิน
ตรงสี่แยกกระทุ่มแบนเป็นจุดอันตรายของนักเดินเรือ เพราะน้ำเขี่ยวออกประตูน้ำแปีะกง หากควบคุมเรือไม่ดี ท้ายเรือจะฟาดไปทางฝั่งประตูน้ำแป๊ะกง พอถึงตรงนี้เรือโยงจะหลับกันไม่ได้ จะมีเสียงโหวกเหวกช่วงกันประคอง ตั้งหลัก ตีโค้งกันให้ดี บางครั้งมีพลาดเรือทรายจมต่อหน้าผมเลยก็มีช่วงกลางคืนจะมีเรือทราย เรือผลไม้ลากจูงเพื่อไปส่งของที่กรุงเทพฯ ตลอดทั้งคืน หน้าร้านกิมกี่ก็ยังไม่ค่อยมีไฟใช้ แสงไฟที่ติดอยู่บนเรือที่แล่นไปทำให้เกิดเงาทอดตกกระทบที่หน้าประตูบ้านฝาเซี้ยมเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ตอนมีเรือผลไม้แล่นผ่านมา หากอยากกินมะละกอ แตงโม เราตะโดนขอเรือไป เขาก็จะโยนลงคลองให้ฟรี เราก็เอาไม้เขี่ยขึ้นมากินได้เลย ส่วนการค้าขายสมัยก่อนก็มาทางน้ำกันทั้งหมดเลย เช่น จะไปวัดท่าเสา ก็ต้องไปทางเรือ มีเพียงตัวจังหวัดที่มีถนนเชื่อมยางส่วนกับตัวอำเภอกระทุ่มแบนและตัวอำเภอบ้านแพ้ว ร้านกิมกี่หลังปัจจุบันสมัยก่อนก็เป็นป่าโสนทั้งหมด ส่วนฝั่งโรงกระดานที่ฝั่งแป๊ะกงก็เป็นป่าโสนและท้องนา”
ห้องแถวไ เจ้าของภาพ : คุณสุชาติ ปิยะภัณฑ์ |
เมื่อกล่าวถึงห้องแถวไม้ยาวฝั่งแป๊ะกง ลุงต๋งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
“ห้องแถวที่เป็นเรือนเรียงยาวนั้น เตี่ยผมเป็นคนรับเหมางานก่อสร้าง โดยมีเตี่ยของกิมเซี๊ยะเป็นช่างผู้สร้าง นอกจากนี้เตี่ยตึ๊งยังรับเหมาสร้างอาคารไม้โรงเรียนวัดอ่างทอง อาคารไม้เก่าวัดหงอนไก่”
ส่วนการซื้อขายในตลาดกระทุ่มแบนสมัยก่อน การซื้อขายหมูยังใช้ใบตองห่ออยู่ ส่วนหน้าตลาดก็มีขนมหวาน “ป้าโต๊บ” ขายฝอยทอง ครั้งหนึ่ง พลเรือตรีชัชวาลย์ ศรีสุวรรณ (จำยศในขณะนั้นไม่ได้) เป็นทหารเรือมีตำแหน่งสูงในกองทัพเรือ ได้นำทูลเกล้าพระราชินี และในหลวงรัชกาลที่ ๙ จนชาวบ้านบางคนเรียกว่า “ฝอยทองเสวย” ต้นตำรับก็คือของป้าโต๊บ ปัจจุบันคือ “ร้านพรเจริญ” ซึ่งป้าโต๊บ เปรียบเป็นเสมือนโรงเรียนที่มีลูกหลานไปเรียนเรื่องขนม มีหลายคนไปเรียน เช่น ป้าเงี๊ยบซึ่งเป็นหลาน ซึ่งฝอยทองป้าโต๊บนี้จะใช้ไข่แดง ไม่ใช้ไข่ขาวปน สีสวย หวานกำลังดี
เรื่องการเดินทางสมัยก่อน ผมต้องนั่งเรือเมลมีเสียงตอนสตาร์ทโดยใช้มือหมุนเครื่องดัง ตุ๊งๆๆ ไปเรียนที่วัดหนองแขม ไม่ใช่เรือหางยาว คนขับเรือยุคนั้น เช่น ลุงหลี (ขายข้าวหมูแดง) ลุงฮวด ลุงฮะ ลุงนง (ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปีกว่า) ส่วนทางบกมีรถประจำทางสาย ๘๕ ไปจอดที่ขนส่งสายใต้ ถนนกระทุ่มแบนเข้ากรุงเทพฯ ก่อนถึงเพชรเกษม เป็นหลุมเป็นบ่อตลอดทาง ส่วนเพชรเกษมสมัยนั้นเป็นยางมะตอยเส้นเดียววิ่งสวนกัน ครั้งหนึ่งผมเห็นรถเฉี่ยวกันแขนขาดกระเด็นต่อหน้า ส่วนคนกระทุ่มแบนนอกจากใช้เรือแล้วก็มีจักรยานเป็นส่วนมาก ปั่นไปวัดอ่างทอง วัดท่าเสา วัดนางสาว ถ้ามีสตางค์หน่อยช่วงหลังๆ ก็ใช้มอเตอร์ไซค์ ร้านซ่อมจักรยานที่ขึ้นชื่อแถวศาลหลวงตาทองคือ “ร้านชอเซ็ง”
อีกประสบการณ์ลุงต๋งที่บอกเล่าคือ คือการได้ไปยืนดูการขุดหลวงตาทองขึ้นจากหน้าศาล โดยที่ซากศพยังมีคราบปรอทเต็มไปหมด พวกชาวบ้านก็ไปตักปรอทเก็บกันไว้ แต่ไม่แน่ใจว่าขุดเพื่อเผาฌาปนหรืออื่นใด
ส่วนที่ศาลแป๊ะกง ลุงต๋งเล่าจากเรื่องที่ได้ยินมาว่า เดิมมีตาแป๊ะแก่มาอาศัยอยู่ย่านนั้น เป็นคนที่เคร่งในศีลธรรม คอยช่วยเหลือชาวเรือที่ผ่านไปมา ใครขาดอาหารก็มาขอได้ เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปขอยาได้ ชาวตลาดกระทุ่มแบนเลยนับถือ และสร้างศาลเล็กๆ ให้ในภายหลัง และมีการปรับปรุงสร้างใหญ่ขึ้น โดยการไปศาลแป๊ะกงสมัยนั้นต้องเดิน ขี่จักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ ส่วนเรือต้องไปออกที่ล็อคหรือจะเข้ามาทางแม่น้ำ จากศาลแป๊ะกงมองไปทางขวาจะเห็นวัดนางสาว ทางด้านซ้ายจะเห็นวัดอ่างทอง
“ห้องแถวที่เป็นเรือนเรียงยาวนั้น เตี่ยผมเป็นคนรับเหมางานก่อสร้าง โดยมีเตี่ยของกิมเซี๊ยะเป็นช่างผู้สร้าง นอกจากนี้เตี่ยตึ๊งยังรับเหมาสร้างอาคารไม้โรงเรียนวัดอ่างทอง อาคารไม้เก่าวัดหงอนไก่”
ส่วนการซื้อขายในตลาดกระทุ่มแบนสมัยก่อน การซื้อขายหมูยังใช้ใบตองห่ออยู่ ส่วนหน้าตลาดก็มีขนมหวาน “ป้าโต๊บ” ขายฝอยทอง ครั้งหนึ่ง พลเรือตรีชัชวาลย์ ศรีสุวรรณ (จำยศในขณะนั้นไม่ได้) เป็นทหารเรือมีตำแหน่งสูงในกองทัพเรือ ได้นำทูลเกล้าพระราชินี และในหลวงรัชกาลที่ ๙ จนชาวบ้านบางคนเรียกว่า “ฝอยทองเสวย” ต้นตำรับก็คือของป้าโต๊บ ปัจจุบันคือ “ร้านพรเจริญ” ซึ่งป้าโต๊บ เปรียบเป็นเสมือนโรงเรียนที่มีลูกหลานไปเรียนเรื่องขนม มีหลายคนไปเรียน เช่น ป้าเงี๊ยบซึ่งเป็นหลาน ซึ่งฝอยทองป้าโต๊บนี้จะใช้ไข่แดง ไม่ใช้ไข่ขาวปน สีสวย หวานกำลังดี
เรื่องการเดินทางสมัยก่อน ผมต้องนั่งเรือเมลมีเสียงตอนสตาร์ทโดยใช้มือหมุนเครื่องดัง ตุ๊งๆๆ ไปเรียนที่วัดหนองแขม ไม่ใช่เรือหางยาว คนขับเรือยุคนั้น เช่น ลุงหลี (ขายข้าวหมูแดง) ลุงฮวด ลุงฮะ ลุงนง (ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปีกว่า) ส่วนทางบกมีรถประจำทางสาย ๘๕ ไปจอดที่ขนส่งสายใต้ ถนนกระทุ่มแบนเข้ากรุงเทพฯ ก่อนถึงเพชรเกษม เป็นหลุมเป็นบ่อตลอดทาง ส่วนเพชรเกษมสมัยนั้นเป็นยางมะตอยเส้นเดียววิ่งสวนกัน ครั้งหนึ่งผมเห็นรถเฉี่ยวกันแขนขาดกระเด็นต่อหน้า ส่วนคนกระทุ่มแบนนอกจากใช้เรือแล้วก็มีจักรยานเป็นส่วนมาก ปั่นไปวัดอ่างทอง วัดท่าเสา วัดนางสาว ถ้ามีสตางค์หน่อยช่วงหลังๆ ก็ใช้มอเตอร์ไซค์ ร้านซ่อมจักรยานที่ขึ้นชื่อแถวศาลหลวงตาทองคือ “ร้านชอเซ็ง”
อีกประสบการณ์ลุงต๋งที่บอกเล่าคือ คือการได้ไปยืนดูการขุดหลวงตาทองขึ้นจากหน้าศาล โดยที่ซากศพยังมีคราบปรอทเต็มไปหมด พวกชาวบ้านก็ไปตักปรอทเก็บกันไว้ แต่ไม่แน่ใจว่าขุดเพื่อเผาฌาปนหรืออื่นใด
ส่วนที่ศาลแป๊ะกง ลุงต๋งเล่าจากเรื่องที่ได้ยินมาว่า เดิมมีตาแป๊ะแก่มาอาศัยอยู่ย่านนั้น เป็นคนที่เคร่งในศีลธรรม คอยช่วยเหลือชาวเรือที่ผ่านไปมา ใครขาดอาหารก็มาขอได้ เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปขอยาได้ ชาวตลาดกระทุ่มแบนเลยนับถือ และสร้างศาลเล็กๆ ให้ในภายหลัง และมีการปรับปรุงสร้างใหญ่ขึ้น โดยการไปศาลแป๊ะกงสมัยนั้นต้องเดิน ขี่จักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ ส่วนเรือต้องไปออกที่ล็อคหรือจะเข้ามาทางแม่น้ำ จากศาลแป๊ะกงมองไปทางขวาจะเห็นวัดนางสาว ทางด้านซ้ายจะเห็นวัดอ่างทอง
ตลาดกระทุ่มแบน
ตลาดสดในกระทุ่มแบน สมัยก่อนมีตลาดขุนสุคนธ์ อยู่ข้างคลองกระทุ่มแบน เชื่อมคลองภาษีเจริญ สมัยเด็กนั้นนิยมมะม่วงอกร่อง เวลาซื้อก็ถือตะกร้าไปที่เรือที่มีแม่ค้าพายเรือมาขาย หยิบๆ ใส่ ทั้งตะกร้าก็ 5 บาท 10 บาท ก๋วยเตี๋ยวสมัยนั้นชามละ 50 สตางค์ กินครั้งเดียว 5 ชามเลย
ส่วนตลาดสดเทศบาลกระทุ่มแบนปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นเป็นโรงหนังเก่า มีเก้าอี้ยาว 2 ช่วง มีหนังไทยมาฉายให้ดู เก็บค่าบัตรเข้าดู น่าประหลาดใจที่ผู้ชมขี้เกียจเดินออกมาก็ขี้เขี่ยวในนั้นก็มี ฉะนั้นเวลาจะเข้าไปนั่งต้องมองสองไฟฉายดูให้ดี (สมัยก่อนเวลาไปไหนมาไหนมักจะพกไฟฉายติดตัว) หน้าโรงหนังจะมีผัดไทยเจ้าเก่าที่ดังมาก ชื่อเจ๊เจือ
ถ้าข้ามถนนสุคนธวิทที่เลยโรงหนังสมัยนั้นออกไปหน่อยก็จะเป็นโรงไฟฟ้า สมัยลุงต๋งอายุ 8-9 ขวบ เป็นครั้งแรกที่กระทุ่มแบนมี เริ่มใช้ตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึงสามทุ่มก็ปิด หลังจากนั้นก็จุดตะเกียงกัน
ส่วนตลาดลุงฮ่ก ขนาดพอๆ กับตลาดขุนสุคนธ์ แต่น่าจะใหญ่กว่า รอบตลาดสดมีร้านค้าบ้านไม้ประตูเซี้ยมล้อมรอบ พอไฟไหม้ปี พ.ศ. 2525 ก็หมดเลย ร้านกิมกี่ก็โดนไฟลามไปถึงหลังบ้านนิดหน่อย มีเพื่อนบ้านที่อยู่ตรงข้ามกันเอาเรือเครื่องแบบที่บรรทุกนักเรียนไปเรียนหนองแขม ชื่อเฮียบ๊วย สตาร์ทเรือมาช่วยขนผ้าดิบ ผ้าดำลงเต็มลำเรือเพื่อหนีไฟ โดยไหม้ตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง
ตลาดสดในกระทุ่มแบน สมัยก่อนมีตลาดขุนสุคนธ์ อยู่ข้างคลองกระทุ่มแบน เชื่อมคลองภาษีเจริญ สมัยเด็กนั้นนิยมมะม่วงอกร่อง เวลาซื้อก็ถือตะกร้าไปที่เรือที่มีแม่ค้าพายเรือมาขาย หยิบๆ ใส่ ทั้งตะกร้าก็ 5 บาท 10 บาท ก๋วยเตี๋ยวสมัยนั้นชามละ 50 สตางค์ กินครั้งเดียว 5 ชามเลย
ส่วนตลาดสดเทศบาลกระทุ่มแบนปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นเป็นโรงหนังเก่า มีเก้าอี้ยาว 2 ช่วง มีหนังไทยมาฉายให้ดู เก็บค่าบัตรเข้าดู น่าประหลาดใจที่ผู้ชมขี้เกียจเดินออกมาก็ขี้เขี่ยวในนั้นก็มี ฉะนั้นเวลาจะเข้าไปนั่งต้องมองสองไฟฉายดูให้ดี (สมัยก่อนเวลาไปไหนมาไหนมักจะพกไฟฉายติดตัว) หน้าโรงหนังจะมีผัดไทยเจ้าเก่าที่ดังมาก ชื่อเจ๊เจือ
ถ้าข้ามถนนสุคนธวิทที่เลยโรงหนังสมัยนั้นออกไปหน่อยก็จะเป็นโรงไฟฟ้า สมัยลุงต๋งอายุ 8-9 ขวบ เป็นครั้งแรกที่กระทุ่มแบนมี เริ่มใช้ตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึงสามทุ่มก็ปิด หลังจากนั้นก็จุดตะเกียงกัน
ส่วนตลาดลุงฮ่ก ขนาดพอๆ กับตลาดขุนสุคนธ์ แต่น่าจะใหญ่กว่า รอบตลาดสดมีร้านค้าบ้านไม้ประตูเซี้ยมล้อมรอบ พอไฟไหม้ปี พ.ศ. 2525 ก็หมดเลย ร้านกิมกี่ก็โดนไฟลามไปถึงหลังบ้านนิดหน่อย มีเพื่อนบ้านที่อยู่ตรงข้ามกันเอาเรือเครื่องแบบที่บรรทุกนักเรียนไปเรียนหนองแขม ชื่อเฮียบ๊วย สตาร์ทเรือมาช่วยขนผ้าดิบ ผ้าดำลงเต็มลำเรือเพื่อหนีไฟ โดยไหม้ตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง
อาหารการกินอะไรที่ขึ้นชื่อ
คนสมัยก่อนมักกินแต่ข้าวต้ม เช่น ข้าวต้มปลากะพง ปลากะพงหรือปลาเจ้าโล้ปกติอยู่ในแม่น้ำ คนรวยมักเอาเรือออกไปตกกัน ตอนหลังเอามาเลี้ยงขึ้นโต๊ะจีน ส่วนปลาช่อนนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนขนมหวาน สมัยนั้นก็มีข้าวเหนียวสังขยา คลองแคลง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง แล้วก็มีหม้อแกง ซึ่งดังกว่าเพื่อน หม้อแกงเมืองเพชรที่ว่าดังๆ สู้กระทุ่มแบนร้านป้าโต๊บไม่ได้ ตักเข้าไปคำหนึ่งน้ำเจียวกระเทียมไหลเข้าปากอร่อยมาก ร้านป้าโต๊บขายขนมหวานหลายชนิด ที่นิยมอีกอย่างคือขนมขี้หนู
ส่วนขนมหวาน สมัยนั้นก็มีข้าวเหนียวสังขยา คลองแคลง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง แล้วก็มีหม้อแกง ซึ่งดังกว่าเพื่อน หม้อแกงเมืองเพชรที่ว่าดังๆ สู้กระทุ่มแบนร้านป้าโต๊บไม่ได้ ตักเข้าไปคำหนึ่งน้ำเจียวกระเทียมไหลเข้าปากอร่อยมาก ร้านป้าโต๊บขายขนมหวานหลายชนิด ที่นิยมอีกอย่างคือขนมขี้หนู
วันวาน การเดินทาง และที่เที่ยว
สมัยเด็ก ผมเรียนที่ผดุงราษฎร์ ไม่เคยได้เรียนกับท่านขุนสุคน เพราะสมัยนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการ แล้วมาเรียนที่โรงเรียนศรีบุณญานุสรณ โรงเรียนศรีฯ นี้ที่จริงแล้วเป็นที่ของญาติพี่น้องเมียผมซึ่งเขามอบให้สำหรับการศึกษา หน้าโรงเรียนฝั่งริมคลอง
ส่วนมัธยมไปเรียนที่หนองแขม เดินทางด้วยทางเรืออย่างเดียว ตอนเดินทางโดยเรือเห็นศพลอยน้ำมา ถ้านอนคว่ำเป็นผู้หญิง ถ้านอนหงายเป็นผู้ชาย มีครั้งหนึ่งคนขับเรือจอดดูศพ แล้วเอาไม้เขี่ย แขนของศพแทบจะคล้องคอคนขับเรือ คนในเรือ นักเรียนตกใจกันหมดเลย ซึ่งเจอบ่อย ทั้งเด็กตกน้ำตายบ้าง ผู้ใหญ่เมาตกน้ำตายบ้าง ข้างๆ ตลิ่งนานๆ จะมีบ้านคนสักหลังหนึ่ง ก็มีตัวมังกรทองต่อสู้กันอย่างไดโนเสาร์ที่ริมตลิ่งเลย
ครั้งหนึ่งเคยไปนั่งเล่นไฮโลในตรอกใกล้คลอง พอตำรวจมาวิ่งหนีกันกระเจิงโดดลงคลองภาษีเจริญ พอเรือโยงผ่านมาเกาะเรือโยงหายวับไปกับตา หนีกันทีเป็นสิบคน คนเขย่าไฮโลสมัยนั้นก็คือ …. (ขอสงวนชื่อไว้) เล่นกันในตรอกบ้าง ในท้องนาบ้าง ขี่ควายเป็นก็ในท้องนานี่แหละ
ที่เที่ยวสมัยก่อนของวัยรุ่นก็มีแต่วัดอย่างเดียว รองานวัดประจำปีกันทุกคน เที่ยวกันทุกวัดเพราะจัดกันคนละวันคนละเดือนกัน ก็มีตีต่อยกัน แต่ไม่มีใช้มีด ใช้ปืน เจอแปลกหน้ามา เช่น เด็กตลาดเจอเด็กท่าเสาหมั่นไส้ก็เตะต่อย ปะทะกัน ในงานวัดก็มีรำวงเป็นหลักซึ่งคนชอบมาก มีหนังกลางแปลง ส่วนดนตรีต้องมีตังค์หน่อยถึงจ้างมาได้ นอกจากนี้ก็มีจับเบอร์ ขว้างลูกดอก ยิงปืน ส่วนชิงช้าสวรรค์ ยังไม่มีเข้ากระทุ่มแบน ยังเจริญไม่ถึง
งานปีใหม่หน้าอำเภอสมัยนั้นถือว่าใหญ่โตมาก แล้วแต่ว่านายอำเภอคนไหนที่มาปกครองกระทุ่มแบนจะมีพาวเวอร์ที่ทำให้งานใหญ่ขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็มักจะเรียกร้องให้นายอำเภอจัดการให้ดีๆ ฉะนั้นนายอำเภอทุกคนจะทุ่มแรงกายแรงใจจัดงานให้ยิ่งใหญ่ คนในละแวกหนองแขม ใกล้เคียงก็เฮโลกันมาเที่ยว เพราะเดินทางสะดวกมาทางน้ำ นอกจากนี้ก็มีเวทีชกมวย มีคนท้องถิ่นขึ้นชกมวย ค่าตัวก็ 50 บาท 80 บาท 100-200 บาท แล้วก็ยังมีลิเกซึ่งขาดไม่ได้ มีอยู่ปีหนึ่งผมหนุ่มแล้วเรียกลำตัดนายหวังเต๊ะมาเล่นด้วย แม่ขวัญจิต ศรีประตันต์ก็เคยมา
ประตูน้ำอ่างทอง ก็เป็นอีกที่เที่ยวที่ไปกันมากที่สุด มีร้านเจ๊จูขายตั้งแต่หัวค่ำถึงตีสองตีสาม ขี้เมาจะไปนั่งกินกันเป็นประจำ ประตูน้ำอ่างทองบรรยากาศดีมาก น้ำอยู่ในอ่าง มีเรือติดค้างในอ่างบ้างปล่อยออกไปบ้างก็มี เห็นพระจันทร์เต็มดวงระหว่างคลองภาษีเจริญกับแม่น้ำท่าจีน และยังมีบ้านไม้ประตูเซี้ยมยาวต่อเนื่องเป็นร้อยๆ เมตร คุณแม่เคยเล่าว่า มีการพบลูกระเบิดที่ประตูน้ำอ่างทองสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วทางทหารไทยก็ไปเก็บกู้ออกมา แต่ผมไม่ทันเพราะเกิดปี 90 แม่บอกว่ามีเรือทหารญี่ปุ่นวิ่งผ่านคลองภาษีเจริญหน้าบ้านประจำ เวลาทหารญี่ปุ่นอาบน้ำจะแก้ผ้าหมดเลย ทหารญี่ปุ่นก็ขึ้นมาซื้อของบ้าง แม่ค้านำไปขายทหารญี่ปุ่นบ้าง
ส่วนมัธยมไปเรียนที่หนองแขม เดินทางด้วยทางเรืออย่างเดียว ตอนเดินทางโดยเรือเห็นศพลอยน้ำมา ถ้านอนคว่ำเป็นผู้หญิง ถ้านอนหงายเป็นผู้ชาย มีครั้งหนึ่งคนขับเรือจอดดูศพ แล้วเอาไม้เขี่ย แขนของศพแทบจะคล้องคอคนขับเรือ คนในเรือ นักเรียนตกใจกันหมดเลย ซึ่งเจอบ่อย ทั้งเด็กตกน้ำตายบ้าง ผู้ใหญ่เมาตกน้ำตายบ้าง ข้างๆ ตลิ่งนานๆ จะมีบ้านคนสักหลังหนึ่ง ก็มีตัวมังกรทองต่อสู้กันอย่างไดโนเสาร์ที่ริมตลิ่งเลย
ครั้งหนึ่งเคยไปนั่งเล่นไฮโลในตรอกใกล้คลอง พอตำรวจมาวิ่งหนีกันกระเจิงโดดลงคลองภาษีเจริญ พอเรือโยงผ่านมาเกาะเรือโยงหายวับไปกับตา หนีกันทีเป็นสิบคน คนเขย่าไฮโลสมัยนั้นก็คือ …. (ขอสงวนชื่อไว้) เล่นกันในตรอกบ้าง ในท้องนาบ้าง ขี่ควายเป็นก็ในท้องนานี่แหละ
ที่เที่ยวสมัยก่อนของวัยรุ่นก็มีแต่วัดอย่างเดียว รองานวัดประจำปีกันทุกคน เที่ยวกันทุกวัดเพราะจัดกันคนละวันคนละเดือนกัน ก็มีตีต่อยกัน แต่ไม่มีใช้มีด ใช้ปืน เจอแปลกหน้ามา เช่น เด็กตลาดเจอเด็กท่าเสาหมั่นไส้ก็เตะต่อย ปะทะกัน ในงานวัดก็มีรำวงเป็นหลักซึ่งคนชอบมาก มีหนังกลางแปลง ส่วนดนตรีต้องมีตังค์หน่อยถึงจ้างมาได้ นอกจากนี้ก็มีจับเบอร์ ขว้างลูกดอก ยิงปืน ส่วนชิงช้าสวรรค์ ยังไม่มีเข้ากระทุ่มแบน ยังเจริญไม่ถึง
งานปีใหม่หน้าอำเภอสมัยนั้นถือว่าใหญ่โตมาก แล้วแต่ว่านายอำเภอคนไหนที่มาปกครองกระทุ่มแบนจะมีพาวเวอร์ที่ทำให้งานใหญ่ขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็มักจะเรียกร้องให้นายอำเภอจัดการให้ดีๆ ฉะนั้นนายอำเภอทุกคนจะทุ่มแรงกายแรงใจจัดงานให้ยิ่งใหญ่ คนในละแวกหนองแขม ใกล้เคียงก็เฮโลกันมาเที่ยว เพราะเดินทางสะดวกมาทางน้ำ นอกจากนี้ก็มีเวทีชกมวย มีคนท้องถิ่นขึ้นชกมวย ค่าตัวก็ 50 บาท 80 บาท 100-200 บาท แล้วก็ยังมีลิเกซึ่งขาดไม่ได้ มีอยู่ปีหนึ่งผมหนุ่มแล้วเรียกลำตัดนายหวังเต๊ะมาเล่นด้วย แม่ขวัญจิต ศรีประตันต์ก็เคยมา
ประตูน้ำอ่างทอง ก็เป็นอีกที่เที่ยวที่ไปกันมากที่สุด มีร้านเจ๊จูขายตั้งแต่หัวค่ำถึงตีสองตีสาม ขี้เมาจะไปนั่งกินกันเป็นประจำ ประตูน้ำอ่างทองบรรยากาศดีมาก น้ำอยู่ในอ่าง มีเรือติดค้างในอ่างบ้างปล่อยออกไปบ้างก็มี เห็นพระจันทร์เต็มดวงระหว่างคลองภาษีเจริญกับแม่น้ำท่าจีน และยังมีบ้านไม้ประตูเซี้ยมยาวต่อเนื่องเป็นร้อยๆ เมตร คุณแม่เคยเล่าว่า มีการพบลูกระเบิดที่ประตูน้ำอ่างทองสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วทางทหารไทยก็ไปเก็บกู้ออกมา แต่ผมไม่ทันเพราะเกิดปี 90 แม่บอกว่ามีเรือทหารญี่ปุ่นวิ่งผ่านคลองภาษีเจริญหน้าบ้านประจำ เวลาทหารญี่ปุ่นอาบน้ำจะแก้ผ้าหมดเลย ทหารญี่ปุ่นก็ขึ้นมาซื้อของบ้าง แม่ค้านำไปขายทหารญี่ปุ่นบ้าง
น้ำในคลองภาษีเจริญเสียตั้งแต่เมื่อไหร่
เริ่มเสียตั้งแต่ช่วงผมไปเรียนที่กรุงเทพฯ ที่ผดุงสิทธิ์วิทยา (ช่วงต้นๆ ยุค ๒๕๐๐) ช่วงนั้นน้ำก็เริ่มเน่าเสีย แม้แต่คนที่ใช้คลองภาษีเจริญเอง ประชาชนไม่รับผิดชอบคลองภาษีเจริญเลย บางคนขายของอยู่ริมคลอง อาศัยอยู่ริมคลอง ถุงพลาสติกก็ทิ้งคลอง ขยะอะไรก็ทิ้งคลอง ผมเห็นคาตาเลย เป็นเรื่องที่ไม่รู้จักอะไรควร ไม่ควรเลย
--------------------------------------------------------
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องเล่าจากประสบการณ์และความทรงจำของลุงต๋งที่ร้านกิมกี่ริมถนนสุคนธวิท ที่ผู้เขียนได้สรุป และเรียบเรียง เพื่อบันทึกเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวเกียวกับกระทุ่มแบนครับ
ขอขอบคุณลุงต๋งในความอนุเคราะห์ที่สละเวลามาถ่ายทอดเรื่องดีๆ ให้ได้ฟัง พร้อมทั้งหนังสือบันทึกที่มีคุณค่าที่มอบให้กับผู้เขียนครับ
ขอขอบคุณลุงต๋งในความอนุเคราะห์ที่สละเวลามาถ่ายทอดเรื่องดีๆ ให้ได้ฟัง พร้อมทั้งหนังสือบันทึกที่มีคุณค่าที่มอบให้กับผู้เขียนครับ
สัมภาษณ์เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒
ถอดความเสียงบันทึกและเรียบเรียงเสร็จเมื่อ ๙ ก.ค. ๒๕๖๒