ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แป้นทำขนมปลากริมของชาวกระทุ่มแบนเมื่อกว่า 60 ปีก่อน



แป้นทำขนมปลากริมของชาวกระทุ่มแบนเมื่อกว่า 60 ปีก่อน

คุณเสาวนีย์ วนสุนทรเมธี ชาวกระทุ่มแบนโดยกำเนิด ได้พบแป้นพิมพ์ขนมปลากริมโดยบังเอิญภายในบ้าน และจำได้ว่าคุณแม่เคยใช้สำหรับทำขนมปลากริมให้รับประทานตั้งแต่สมัยเยาว์วัย นอกจากนี้ยังนำไปใช้สำหรับทำขนมลอดช่องสิงคโปร์ด้วย

แป้นทำขนมนี้เป็นการทำใช้กันเองภายในครัวเรือน โดยน้าชายของคุณน้าของคุณเสาวนีย์เป็นผู้ทำขึ้นมาเอง จึงได้บันทึกภาพถ่ายและส่งมาให้แอดมิน เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้เห็นกัน เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์นี้ไม่ค่อยพบแบบไม้แล้ว แต่จะพบแบบโลหะหรือสแตนเลสเป็นส่วนใหญ่ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนวิถีการทำขนมไทยในสมัยอดีตได้อย่างดี

แอดมินได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อร่วมถ่ายทอดบอกเล่าแป้นทำขนมปลากริมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยพบข้อมูลที่เรียบเรียงขึ้นในเว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2563 https://bit.ly/3czZ6DJ) จึงขออนุญาคัดลอกนำมาให้อ่านประกอบกันดังนี้

แป้นทำขนมปลากริม เป็นแป้นทำจากไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะเป็นแป้นไม้วงกลมหรือเป็นทรงเหลี่ยม เจาะรูกลมๆ ขนาดเล็กๆ ไว้ทั่วแป้นไม้ มีหูสองข้างไว้สำหรับจับและใช้สำหรับวางพาดบนหม้อหรือถัง

ขนมปลากริม เป็นอาหารหวานที่นิยมรับประทานคู่กับขนมไข่เต่า เครื่องปรุงประกอบด้วย น้ำกะทิ น้ำตาล แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อมหรือแป้งมันสำปะหลัง วิธีทำแป้งแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นฐาน บางตำรับใช้วิธีต้มแป้งให้สุกก่อนแล้วจึงนำมานวดผสมกับแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งมันสำปะหลัง เมื่อนวดแป้งต้องเติมด้วยน้ำร้อนจนเนื้อแป้งเนียนดีแล้ว จึงนำมากดเป็นเส้น แต่ตำรับที่น่าจะได้รับความนิยมกันมากคือ การใช้แป้งข้าวเจ้ากับแป้งเท้ายายม่อมผสมน้ำลงไปตามอัตราส่วนที่เหมาะสมจนเป็นน้ำแป้ง แล้วจึงนำน้ำแป้งไปเคี่ยวหรือกวนในกระทะทองเหลือง คะเนว่าไม่เหลวเกินไป (คล้ายกับการกวนลอดช่องไทย) จากนั้นจึงนำแป้งที่ได้ไปกดหรืออัดผ่านแป้นทำขนมปลากริม เพื่อให้ตัวแป้งสุกตกลงไปในถังน้ำเย็นกลายเป็นตัวแป้งปลากริม ซึ่งเนื้อสัมผัสของตัวปลากริมจะมีลักษณะเหนียว นุ่ม เนียน
แป้นทำขนมปลากริมแบบกลม
ภาพจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


ในปัจจุบันนี้ จะใช้เครื่องมืออัดขนมปลากริมด้วยสแตนเลสหรือสังกะสีอย่างหนา โดยทำเป็นกระป๋องชั้นนอกทรงกระบอกที่เจาะรูกลมๆ ไว้ด้านล่าง แล้วทำกระป๋องทึบอีกใบหนึ่งเป็นทรงกระบอกขนาดพอดีที่จะใส่ลงไปในกระป๋องชั้นนอกได้พอดี หากไม่ใช้แป้นทำขนมปลากริม ก็สามารถปั้นแป้งเองให้เป็นตัวแป้งยาวๆ ก็ได้ แล้วจึงละลายน้ำตาล น้ำกะทิและน้ำปูนใส แล้วนำมาตั้งไฟ เคี่ยวจนเดือด จากนั้นจึงนำแป้งที่ปั้นแล้วใส่ลงไป เคี่ยวไปจนแป้งสุกและน้ำกะทิแตกมัน รสชาติจะออกไปทางหวานมัน รับประทานกับขนมไข่เต่า ซึ่งมีรสชาติออกไปทางเค็มมัน คนสมัยโบราณเรียกขนมปลากริมไข่เต่านี้ว่า "ขนมแชงมา" แม่ค้ามักนำขนมปลากริมและขนมไข่เต่าใส่หม้อดินและหาบไปขายในที่ต่างๆ ในบางท้องที่ เช่น จังหวัดเพชรบุรี นิยมใส่หอมแดงลงไปในขนมปลากริมด้วย

หากชาวกระทุ่มแบนท่านใดมีอุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ในวันวานเก็บอยู่ที่บ้าน และต้องการถ่ายภาพนำมาเผยแพร่เป็นความรู้ให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ สามารถส่งภาพเข้ามาได้ทางอินบ็อกซ์ทางเพจกระทุ่มแบนโฟโต้ได้เลยนะครับ

ขอขอบคุณ  คุณเสาวนีย์ วนสุนทรเมธี ที่เอื้อเพิ้อการถ่ายภาพอุปกรณ์มาให้ได้ชมกันครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo