ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นายปรีชา โกศลพันธุ์ อดีตนายอำเภอกระทุ่มแบน ลำดับที่ 19

นายปรีชา โกศลพันธุ์ อดีตนายอำเภอกระทุ่มแบน


นายปรีชา โกศลพันธุ์ ถ่ายคู่กับภรรยา คุณวีณา โกศลพันธุ์ เมื่อ 27 ธ.ค. 2498 ซึ่งเป็นวันที่ย้ายจากกระทุ่มแบนเข้ากรุงเทพฯ

นายปรีชา โกศลพันธุ์
อดีตนายอำเภอกระทุ่มแบน ลำดับที่ 19
ดำรงตำแหน่ง 3 ส.ค. 2497 - 29 พ.ย. 2498

นายปรีชา โกศลพันธุ์ เกิดวันที่ 13 เมษายน 2462 ที่ จ.นครศรีธรรมราชการ

การทำงาน-รับราชการ
พ.ศ. 2481     ลูกจ้างหมวดก่อสร้างทางหลวงสายยะลา บ้านโต (เบตง) สายที่ 21 กรมโยธาเทศบาล
พ.ศ. 2482     เสมียน แผนกมหาดไทย จ.น่าน กรมมหาดไทย
พ.ศ. 2484     เสมียน แผนกมหาดไทย จ.ธนบุรี
พ.ศ. 2484     เสมียนแผนกครอบครัว กองทะเบียน กรมมหาดไทย
พ.ศ. 2485     ปลัดอำเภอฝึกหัด อ.ศรีราช จ.ชลบุรี
พ.ศ. 2486     ปลัดอำเภอชั้นตรี อ.บางบัวทอง จ.ธนบุรี
พ.ศ. 2486     ปลัดอำเภอชั้นตรี อ.ราษฎร์บูรณะ จ.ธนบุรี
พ.ศ. 2486     พนักงานประจำกองข้าหลวงทหารประจำรัฐไทรบุรี ทำหน้าที่จ่าจังหวัด
พ.ศ. 2488     หัวหน้าแผนกกลาง บก. ข้าหลวงใหญ่ ทหารสี่รัฐมาลัย (ในช่วงนี้ยังเป็นหัวหน้าเสรีไทยในไทรบุรีด้วย)
พ.ศ. 2488     ปลัดอำเภอตรี อ.บางพลี จ.พระนคร
พ.ศ. 2490     นายอำเภอรามัน จ.ยะลา
พ.ศ. 2491     นายอำเภอบันนังสตา จ.ยะลา
พ.ศ. 2491     นายอำเภอรามัน จ.ยะลา
พ.ศ. 2492     นายอำเภอสุไหงปาดี จ.นราธิวาส
พ.ศ. 2495     นายอำเภอท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
พ.ศ. 2497     นายอำเภอกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
พ.ศ. 2498     นายอำเภอเมืองสงขลา จ.สงขลา
พ.ศ. 2499     นายอำเภอเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส
พ.ศ. 2500     ผู้สืบสวนเอก กองตรวจราชการที่ 3 กรมตรวจการแผ่นดิน สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2503     หัวหน้ากองตรวจราชการที่ 3 ส่วนตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2518     หัวหน้าผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2519     รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2521     ปลัดสำนักนายกรัญมนตรี
พ.ศ. 2523     ออกตากราชการด้วยเหตุเกษียณอายุ
---
• ขอบคุณเจ้าของภาพ : คุณภาคภูมิ อัครธรรมโยธิน หนังสือพิมพ์อิสระไทย
• สรุปข้อมูลบางส่วนจาก
- อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายปรีชา โกศลพันธุ์ 3 เมษายน พ.ศ. 2554
- หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 20 สิงหาคม 2537

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...