ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ)

คงมีบางอย่างดลใจให้แอดมินได้พบกับหนังสือเล่มนี้ที่เดินทางไกลมาจากเชียงใหม่ หลังจากคุยกับแฟนเพจท่านที่สอบถามเกี่ยวกับเรื่องวัดนางสาวเข้ามาผ่านทางแชต โดยช่วงหนึ่งมีการกล่าวถึงประวัติหลวงพ่อเล้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดนางสาว อยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นแอดมินก็ได้พบกับหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ จึงนำหน้าปกมาให้ชม พร้อมกันนี้ได้ทำสรุปประวัติคร่าวๆ หลวงพ่อเล้ง ให้ได้อ่านกันพอสังเขป ส่วนรูปถ่ายท่านคงน่าจะพอมีคนกระทุ่มแบนที่เก็บไว้ แต่แอดมินต้องขอไปสืบค้นก่อนครับ เล่มนี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน โดยมีขุนสุคนธวิทศึกษากรเป็นประธานจัดงาน มีนายอำเภอและบุคคลในกระทุ่มแบนเขียนบทความในเล่มนี้ ปกหลังระบุว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีการช่าง ตลาดกระทุ่มแบน สมุทรสาคร นายชลอ ศรีสุกใส ผู้พิมพ์โฆษณา ประวัติโดยสรุปย่อ พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ) ▪️ นามเดิมชื่อ เล้ง นามสกุล ไร่ผล ▪️ เกิด ๔ กรกฎาคม ๒๔๒๔ ที่บ้าน ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ▪️ เป็นบุตรลำดับที่ ๔ ในจำนวนบุตรทั้งหมด ๗ คน ▪️ มารดาชื่อนางเย็น ไร่ผล, บิดาชื่อนายบุญมา ไร่ผล ▪️ พ.ศ. ๒๔๕๐ อายุ ๒๖ ปี อุปสมบทที่วัดนางสาว มีหลวงพ่อแสง...

สมุทรสาคร ในนิตยสารภาพข่าวสยามนิกร รายสัปดาห์ พ.ศ. 2496

ผมมีนิตยสารเก่าที่ชื่อว่า "ภาพข่าวสยามนิกรรายสัปดาห์" อยู่ 2 เล่มที่เก็บสะสมไว้ จากการซื้อหาจากพ่อค้าหนังสือเก่า ทั้ง 2 เล่ม ตีพิมพ์ในเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496   ในระหว่างที่ลองพลิกดูเนื้อหาภายในเล่มก็สะดุดตากับภาพถ่าย สมุทรสาคร ที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในคอลัมน์ "รอบอาณาจักร" ซึ่งเป็นการรวมภาพถ่ายจากจังหวัดต่างๆ ที่ผมเข้าใจว่าผู้อ่านคนไหนที่พอจะมีฝีไม้ลายมือในการถ่ายภาพน่าจะถ่ายภาพแล้วเขียนคำบรรยายส่งเข้าไปที่นิตยสาร ภาพแรก ถ่ายโดยคุณชวลิต จันทกาญจน์ พร้อมคำบรรยายภาพว่า "ถนนเศรษฐกิจ" ทางหลวงสายใหม่สู่พระนคร ภายในภาพเป็นบรรยากาศช่วงหนึ่งของถนนเศรษฐกิจ แต่ไม่ทราบว่าอยู่บริเวณไหน มองเห็นป่ายชื่อถนนที่ระบุว่า "ถนนเศรษฐกิจ 1" ซึ่ง ถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นเส้นที่เชื่อมแยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) ในปัจจุบันแยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินห...

พิธีเปิด เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ณ บ้านโต้ล้ง

วันนี้ได้อ่านโพสต์ในเฟซบุ๊กของคุณอาปรีชา ฐินากร ที่ไปเก็บภาพข่าว พิธีเปิด "เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน" ย่านโต้ล้ง คุณอาปรีชา ได้บรรยายถึงพิธีเปิดพร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับที่มาของ "บ้านโต้ล้ง" ไว้อย่างน่าสนใจ และเชื่อว่า เด็กรุ่นใหม่ๆ  หลายคน หรือแม้แต่ตัวผมเองก็ยังไม่เคยได้ฟังข้อมูลนี้ จึงได้ติดต่อขออนุญาตคุณอาปรีชา เพื่อนำรูปและ ข้อมูลมาเผยแพร่ เป็นประโยชน์ต่อไป ดังนี้ครับ พิธีเปิด "เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน" 3 ธันวาคม 2564 เวลา 9.00 น. นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิด ณ บ้านโต้ล้ง หมู่ 2 ต.สวนหลวง มีนายบรรพต จันทรวงค์ นายอำเภอ, นายก้องเกียรติ มาลี กำนัน, นายเสริมศักดิ์ กุศลใบบุญ ผู้ใหญ่บ้าน และนายบรรจง เบี้ยวบังเกิด เจ้าของพื้นที่และภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชน ร่วมพิธี   นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประธานพิธีเปิดกล่าวว่า  เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตร...

สุสานสีบุญเรือง และ มูลนิธิสีบุญเรือง ริมคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน

เมื่อหลายวันก่อน คุณอาไพบูลย์ สำราญภูติ คนกระทุ่มแบนผู้มีชื่อเสียงด้านการตลาด ที่ผมได้มีโอกาสรู้จักกันมาหลายปี ได้คอมเมนต์สอบถามถึงเรื่องประวัติของสุสานสีบุญเรืองมาในเฟซบุ๊กส่วนตัวของผม ประจวบกับความคิดดั้งเดิมที่เคยจะเขียนถึงเรื่องนี้อยู่เป็นทุนเดิมแล้ว แต่ข้อมูลอาจยังไม่ครบถ้วนในทุกด้าน ผมเลยได้แต่ผัดวันประกันพรุ่งออกไปก่อน แต่เมื่อลองไตร่ตรองให้ดีแล้วพบว่า ข้อมูลบางเรื่องไม่ต้องสมบูรณ์หมดจดก็ได้ ขอแค่เขียนออกมาให้ครบถ้วนถูกต้องเท่าทีมีก่อนเพราะถ้ามัวแต่รอก็ไม่ได้เขียนเสียที ที่สำคัญเมื่อเขียนเผยแพร่ออกมาแล้ว น่าจะมีผู้รู้หลายท่านมาช่วยกันเติมเต็มข้อมูลในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กแบบทุกวันนี้ก็เป็นได้  หากกล่าวถึง สุสานสีบุญเรือง ในความทรงจำของผม คือ ภาพป้ายสุสานที่ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ซึ่งผมมองเห็นอยู่หลายครั้ง เมื่อคราวใช้บริการเรือหางยาวจากกระทุ่มแบนไปหนองแขม หรือหนองแขมมากระทุ่มแบน แต่ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เพียงแต่ทราบว่ามีความเกี่ยวพันกับตระกูลสีบุญเรืองเป็นแน่แท้  คนกระทุ่มแบนจำนวนไม่น้อย น่าจะรู้จักสกุลสีบุญเรือง จากเมื่อครั้งทายาทตระกูลสีบุญเรือง ...

ประวัติ "ครูฮวด" หรือ "นายบุญนาค แสงลออ" ครูผู้ก่อตั้งโรงเรียนสุระวิทยาที่วัดดอนไก่ดี

          ประวัติของครูฮวดนี้ ผม พิมพ์ตามตัวอักษรต้นฉบับ ในหนังสือ "ไตรวุฒิ" เจริญ ๓ ประการ โดย ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ แด่ นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ยกเว้นการจัดย่อหน้าที่ต่างจากต้นฉบับเพื่อให้อ่านได้สบายตาขึ้น ประวัติโดยย่อ นาย ฮวด แสงลออ (หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า คุณครูฮวด) ชาตะ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนนวลนรดิศ ในคลองบางหลวง อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้แล้ว จึงลาออกประกอบอาชีพส่วนตัว และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในระหว่างที่ท่านอุปสมบทอยู่นั้น ได้มีจิตต์ศรัทธาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่วัดดอนไก่ดี ด้วยความคิดอ่านและความพากเพียรของท่านเองจนบรรลุผลสำเร็จ และขนานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนสุระวิทยา" ท่านทำการสั่งสอนด้วยตนเอง มีศิษย์ที่รับการศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ได้ทำการสอนอยู่ถึง ๔ พรรษาจึงลาสิกขาบท  เมื่อเป็นฆราวาสแล้ว ท่านก็ยังเป็นครู...

อนุสรณ์การฌาปนกิจ นายฮวด แสงลออ

"ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ  แด่  นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจ ที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ชื่อเรื่อง : "ไตรวุฒิ" เจริญ ๓ ประการ ชื่อเรื่องอื่นๆ : ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ แด่ นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 คำสำคัญ : นายฮวด แสงลออ, ขุนพิสิฐนนเดช, โรงเรียนสุรวิทยา, วัดนวลนรดิศ, วัดดอนไก่ดี, วัดบางนกแขวก คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ภาพผู้วายชนม์, "ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ของ พระศาสนโสภน อุฏฐายี วัดมกุฏกษัตริยาราม ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาดไทย, นายแถม สาครวาสี ผู้พิมพ์โฆษณา 22 มี.ค. 2493 จำนวนหน้า : 29 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : - คำนำ โดย พระศาสนโสภน วัดมกุฏกษัตริยาราม - ประวัติผู้วายชนม์ - ภาพผู้วายชนม์ - ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ของ พระศาสนโสภน อุฏฐายี วัดมกุฏกษัตริยาราม                             ...

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนพิสิฐนนทเดช

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ  ขุนพิสิฐนนทเดช ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร 15 พฤษภาคม 2521 ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนพิสิฐนนทเดช ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร 15 พฤษภาคม 2521 ชื่อเรื่องอื่นๆ : - คำสำคัญ : คนผัดหมี่, เสด็จประพาสต้น, นักเรียนวัด, ล็อค, ประตูน้ำ, แป๊ะกง, การเศรษฐกิจ พ.ศ. 2450, ผู้จัดการสถานกาแฟนรสิงห์, ครูฮวด แสงละออ, เสรีไทย, วัดพิสิฐบูรณาราม (นครราชสีมา), สนามบินลับที่คลองไผ่ นครราชสีมา, สงครามโลกครั้งที่ 2, นักโทษชาวจีน, คุกไทย, เรือนจำไทย, บุญมี มกรเสน, กรมราชทัณฑ์ คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ภาพผู้วายชนม์ในช่วงต่างๆ, บันทึกความจำ ชีวประวัติ, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : มงคลการพิมพ์ บางลำภู กรุงเทพฯ จำนวนหน้า : 112 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : - บันทึกความจำ ชีวประวัติ ของขุนพิสิฐนนทเดช - ฝันร้ายของข้าพเจ้า / นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน ศราภัยวานิช) - บันทึกการเสรีไทย ทำสนามบินลับและฝึกอาวุธ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา / ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี ม...

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเสา

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) ณ เมรุวัดท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร  วันที่ 21 เมษายน 2545 ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) ชื่อเรื่องอื่นๆ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) วันที่ 21 เมษายน 2545 คำสำคัญ : พระครูอาทรธรรมนิเทสก์, เจ้าอาวาสวัดท่าเสา, เจ้าคณะตำบลท่าเสา, หลวงพ่อทองอยู่, โชตะมังสะ, ขุนศรีบรรณสาร, ท่าไม้, พระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดหงอนไก่, พระเพี้ยน จฺนทสโร วัดนางสาว พระสุนทร คุณชารี วัดนางสาว, วัดท่าเสา (อาทรราษฎร์อุปถัมภ์), ถนนท่าเสาวัฒนา,  คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : วัดบางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จำนวนหน้า : 73 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร                  ...

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีชัย เทียนจวง

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  นายทวีชัย เทียนจวง เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดดอนไ่ก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540 ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีชัย เทียนจวง ชื่อเรื่องอื่นๆ : - คำสำคัญ : เทียนจวง, แซ่อึ๊ง, นิยะบุญ, บ้านตึกหลังแรกตลาดกระทุ่มแบน, รองประธานห้องสมุดประชาชนเลี่ยงฮั้ว,กรรมการบริหารโรงเจเชี่ยงซื่วตั๊ว(วัดดอนไก่ดี) , กรรมการมูลนิธิวิเศษสมุทคุณ, ลูกเสือชาวบ้าน คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, คำขอบคุณจากบุตร ธิดา และหลาน, ยอดพระกัณฑ์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระคาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระคาถาพิเศษบางบท ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด จำนวนหน้า : ประมาณ 50 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, คำขอบคุณจากบุตร ธิดา และหลาน, ยอดพระกัณฑ์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระคาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระคาถาพิเศษบางบท                                         ...

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์)

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์ วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์)  ณ เมรุวัดตึกชยาราม จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2502 ชื่อเรื่อง : หน้าที่ "รู้จักหน้าที่ ทำตามหน้าที่ จะเกิดศักดิ์ศรี ทั้งทางโลกทางธรรม คติพจน์ของ ท่านเจ้าคุณ พระสิริชัยมุนี เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 7 วัดพระปฐมเจดีย์ ชื่อเรื่องอื่นๆ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์ วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์) ณ เมรุวัดตึกชยาราม จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2502 คำสำคัญ : พระครูสมุทรคุณากร (นิล), เสมียนสรรพากรอำเภอเมือง, สมุหบัญชีอำเภอกระทุ่มแบน, บางปลาม้า, บางเลน, นครชัยศรี, เมืองนครปฐม, ผู้ช่วยคลังจังหวัดสมุทรสาคร คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, ประกวดบทความเรื่องรู้จักหน้าที่-ทำตามหน้าที่ ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา พระนคร นายทรงวุฒิ วโรภาส ผู้พิมพ์โฆษณา จำนวนหน้า : 43 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, ประกวดบทความเรื่องรู้จักหน้าที่-ทำตามหน้าที่                     ...

"คนผัดหมี่" คือใครในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น (ร.ศ. 123) ช่วงผ่านกระทุ่มแบน

          หลังจากที่เคยตั้งคำถามกับตัวเองและผู้ที่สนใจไว้เมื่อราว 2 ปีก่อน ตามลิงก์นี้แล้วนั้น https://www.kratoom.net/2019/06/blog-post.html           หนึ่งในคำถามก็มีจากวรรคนี้ในพระราชนิพนธ์ "....ดูนายอัษฎาวุธท่าจะออกหิว จึงชวนกันขึ้นบกเดินไปเที่ยวซื้อข้าวแกงกินที่ตลาดบ้านกระทุ่มแบน ไปเจอคนผัดหมี่ดี คุยว่ารู้จักคุ้นเคยกับเจ้าคุณเทศผ่านมาเป็นต้องแวะกินหมี่เสมอ...."           "คนผัดหมี่" คือใครกัน           ผมตามไถ่ถามคนเก่าแก่ในพื้นที่หลายครั้งหลายหน แต่ไม่มีใครทราบ ไม่มีใครได้รับการเล่าต่อจากบรรพบุรุษมาเลย จนคิดว่าไม่น่าจะได้คำตอบแล้ว           เมื่อสองวันก่อนรู้สึกหวิวกับข่าวการเสียชีวิตของน้าค่อม และผู้ติดเชิ้อโควิด 19 จึงเดินไปสุ่มๆ หาหนังสือบนชั้นกระทุ่มแบนที่สะสมไว้มาพลิกอ่านเล่น จนมาพบหนังสืออนุสรณ์ "ขุนพิสิฐนนทเดช" ซึ่งได้มาหลายเดือนแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านละเอียด พออ่านไปสักพักก็พบกับคำตอบ ที่น่าจะเชื่อได้ว่าคนผัดหมี่คือใคร ขุนพิสิฐนนทเดช เมื่อครั้งเป็นนายหม...

หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) คนท่าเสา กระทุ่มแบน

เจดีย์บรรจุอัฐิ หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) ภรรยา และญาติ           ย้อนกลับไปเกือบ ๔ ปีก่อน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๖๐ ผมไปเดินหาข้อมูลเรื่องเก่าๆ ย่านวัดท่าเสา กระทุ่มแบน เดินไปเรื่อยเปื่อย ถ่ายรูปบริเวณในวัด เดินผ่านเจดีย์บรรจุอัฐิที่มีทั้งเก่าใหม่รูปร่างแปลกแตกต่างกันไป ระหว่างนั้นก็ได้ไล่อ่านชื่อตามฐานเจดีย์ควบคู่ไปด้วยบางชื่อ บางนามสกุล ไม่เคยทราบหรือคุ้นมาก่อนว่าเป็นคนในย่านกระทุ่มแบน เลยถ่ายภาพเผื่อมาหาข้อมูลเพิ่มเติม และใช้เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ในอนาคต ผมสะดุดตากับชื่อหนึ่งซึ่งน่าสนใจ คือ หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) ด้วยความที่ผมอ่านหนังสือไม่เยอะมาก เบื้องต้นจึงค้นหาผ่านระบบออนไลน์พบข้อมูลที่สรุปจาก บันทึกความทรงจำชีวิตในต่างประเทศ ภาคต้น พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร โดยมีช่วงหนึ่งระบุไว้ว่า "หลวงขาณุบุรินทร์โยธีปลัดกรมของกรมพระกำแพงฯ อีกคนหนึ่งที่มีโอกาสตามเสด็จต่างประเทศ เจ้านายทุกพระองค์รู้จักในนามว่า นายอ้น นายอ้นต้องสะพายกล้องถ่ายรูปถ่ายหนังหลายอันจนเต็มบ่าทั้งซ้ายขวา บางคราวมองเห็นแต่หมวกกับรองเท้าส่วนต...