ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"คนผัดหมี่" คือใครในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น (ร.ศ. 123) ช่วงผ่านกระทุ่มแบน

          หลังจากที่เคยตั้งคำถามกับตัวเองและผู้ที่สนใจไว้เมื่อราว 2 ปีก่อน ตามลิงก์นี้แล้วนั้น https://www.kratoom.net/2019/06/blog-post.html

          หนึ่งในคำถามก็มีจากวรรคนี้ในพระราชนิพนธ์

"....ดูนายอัษฎาวุธท่าจะออกหิว จึงชวนกันขึ้นบกเดินไปเที่ยวซื้อข้าวแกงกินที่ตลาดบ้านกระทุ่มแบน ไปเจอคนผัดหมี่ดี คุยว่ารู้จักคุ้นเคยกับเจ้าคุณเทศผ่านมาเป็นต้องแวะกินหมี่เสมอ...."

         "คนผัดหมี่" คือใครกัน

          ผมตามไถ่ถามคนเก่าแก่ในพื้นที่หลายครั้งหลายหน แต่ไม่มีใครทราบ ไม่มีใครได้รับการเล่าต่อจากบรรพบุรุษมาเลย จนคิดว่าไม่น่าจะได้คำตอบแล้ว

          เมื่อสองวันก่อนรู้สึกหวิวกับข่าวการเสียชีวิตของน้าค่อม และผู้ติดเชิ้อโควิด 19 จึงเดินไปสุ่มๆ หาหนังสือบนชั้นกระทุ่มแบนที่สะสมไว้มาพลิกอ่านเล่น จนมาพบหนังสืออนุสรณ์ "ขุนพิสิฐนนทเดช" ซึ่งได้มาหลายเดือนแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านละเอียด พออ่านไปสักพักก็พบกับคำตอบ ที่น่าจะเชื่อได้ว่าคนผัดหมี่คือใคร

ขุนพิสิฐนนทเดช เมื่อครั้งเป็นนายหมู่ตรีเสือป่าพรานหลวง ร.อ. อายุ 20 ปี

ขุนพิสิฐนนทเดช เมื่อครั้งเป็นนายหมู่ตรีเสือป่าพรานหลวง ร.อ. อายุ 20 ปี 



"ขุนพิสิฐนนทเดช" (บุญมี มกรเสน)

          ในบันทึกความจำชีวประวัติของขุนพิสิฐนนทเดช ซึ่งเกิดที่กระทุ่มแบน ได้บันทึกไว้พอจะสรุปความเรื่องนี้ได้ว่า"สมัยขุนพิสิฐนนทเดช อายุ 7 ขวบ ได้ทันเหตุการณ์ รัชการที่ 5 เสด็จประพาสต้น ช่วงที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาจอดเรือคอยที่กระทุ่มแบน และปลอมองค์ขึ้นไปตลาดกระทุ่มแบน เผอิญเจอคนรู้จักเข้าจึงความแตกเสด็จกลับลงเรือ บิดาของขุนพิสิฐฯ ทราบเข้าก็ก็ผัดหมี่กรอบ พร้อมพาตัวขุนพิสิฐฯ ไปถวายตัวต่อองค์รัชทายาท (ผมเข้าใจว่าคือนายอัษฎาวุธในพระราชนิพนธ์ ซึ่งคือ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา)



อ่านแบบออนไลน์ได้ที่
http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:949

          ผมจึงได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อได้ว่า คนผัดหมี่ ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ร.ศ. 123 นั้น ก็คือ  บิดาของขุนพิสิฐนนทเดช ชื่อ "นายปั้น มกรเสน" หรือบางคนอาจจะรู้จักในาม "ขุนพัฒน์ปั้น" เพราะเคยเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย หรือ "โต้โผปั้น" เพราะเคยเป็นผู้โต้โผละครโรงใหญ่หรือผู้จัดการละคร

          ส่วนเรื่องสถานที่อื่นๆ ที่เคยตั้งคำถามเอาไว้ ก็ต้องช่วยกันตามหาคำตอบกันต่อไปครับ


เขียนเมื่อ 2 พ.ค. 2564

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo