ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติ "ครูฮวด" หรือ "นายบุญนาค แสงลออ" ครูผู้ก่อตั้งโรงเรียนสุระวิทยาที่วัดดอนไก่ดี


          ประวัติของครูฮวดนี้ ผมพิมพ์ตามตัวอักษรต้นฉบับในหนังสือ "ไตรวุฒิ" เจริญ ๓ ประการ โดย ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ แด่ นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ยกเว้นการจัดย่อหน้าที่ต่างจากต้นฉบับเพื่อให้อ่านได้สบายตาขึ้น




ประวัติโดยย่อ

นาย ฮวด แสงลออ (หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า คุณครูฮวด) ชาตะ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนนวลนรดิศ ในคลองบางหลวง อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้แล้ว จึงลาออกประกอบอาชีพส่วนตัว และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ในระหว่างที่ท่านอุปสมบทอยู่นั้น ได้มีจิตต์ศรัทธาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่วัดดอนไก่ดี ด้วยความคิดอ่านและความพากเพียรของท่านเองจนบรรลุผลสำเร็จ และขนานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนสุระวิทยา" ท่านทำการสั่งสอนด้วยตนเอง มีศิษย์ที่รับการศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ได้ทำการสอนอยู่ถึง ๔ พรรษาจึงลาสิกขาบท 

เมื่อเป็นฆราวาสแล้ว ท่านก็ยังเป็นครูสอนอยู่อีก ๑ ปี แล้วท่านออกทำการค้าขายส่วนตัวต่อไป ตลอดเวลาที่ท่านเป็นครูสอนอยู่นั้นมิได้คิดค่าเล่าเรียนจากนักเรียนแต่อย่างใดเลย เป็นการสอนด้วยความตั้งใจเป็นกุศลวิทยาทานโดยแท้ โรงเรียนแห่งนี้ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ศิษย์ของครูฮวด แสงลออ ขณะนี้รับราชการเป็นหลักฐานมีอยู่หลายคน และที่ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางค้าขายเป็นคหบดีมีหลักฐานก็เป็นจำนวนมาก

คุณครูฮวด แสงลออ ได้ทำการสมรสกับนางกี่ แสงลออ มีบุตร ธิดา ๕ คน คือ
๑. นางพุฒ ชลานุเคราะห์
๒. นายทองสุข แสงลออ
๓. นายทองสด แสงลออ
๔. นายทองเสริฐ แสงลออ
๕. นางสาวเพี้ยน แสงลออ

ครูฮวด แสงลออ เป็นผู้มีจิตต์ศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา มีการทำบุญให้ทานเสมอเป็นนิจ เป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีแก่ผู้น้อย เป็นที่รักใคร่นับถือของปวงมิตรสหายและเป็นที่รักเคารพของบรรดาศิษย์ ท่านไม่ถือตัวเข้าสังคมกับชนได้ทุกชั้น ก่อนถึงแก่กรรมเล็กน้อย ท่านได้ช่วยวิ่งเต้นในการฝังลูกนิมิตรที่วัดบางนกแขวก จังหวัดราชบุรี ยังมิทันสำเร็จผล ท่านก็ได้ล้มป่วยลง บรรดาญาติได้ทำการรักษาพยาบาลจนเต็มความสามารถ อาการของโรคกำเริบหนักขึ้น และถึงแก่กรรมที่บ้านปากคลองกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑  คำนวณอายุได้ ๖๒ ปี

ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยคุณงามความดี ได้ก่อกำเหนิดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นอนุสสรณ์ทุกวันนี้ และประพฤติตนเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป ไม่เป็นภัยแก่สังคมเช่นนี้ เมื่อท่านถึงแก่กรรมลง จึงเป็นที่เศร้าสลดและอาลัยของบรรดาญาติมิตร ท่านที่เคารพนับถือตลอดจนบรรดาศิษย์ของท่านทั่วไป.




 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo