ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ)

คงมีบางอย่างดลใจให้แอดมินได้พบกับหนังสือเล่มนี้ที่เดินทางไกลมาจากเชียงใหม่ หลังจากคุยกับแฟนเพจท่านที่สอบถามเกี่ยวกับเรื่องวัดนางสาวเข้ามาผ่านทางแชต โดยช่วงหนึ่งมีการกล่าวถึงประวัติหลวงพ่อเล้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดนางสาว

อยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นแอดมินก็ได้พบกับหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ

จึงนำหน้าปกมาให้ชม พร้อมกันนี้ได้ทำสรุปประวัติคร่าวๆ หลวงพ่อเล้ง ให้ได้อ่านกันพอสังเขป ส่วนรูปถ่ายท่านคงน่าจะพอมีคนกระทุ่มแบนที่เก็บไว้ แต่แอดมินต้องขอไปสืบค้นก่อนครับ


เล่มนี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน โดยมีขุนสุคนธวิทศึกษากรเป็นประธานจัดงาน มีนายอำเภอและบุคคลในกระทุ่มแบนเขียนบทความในเล่มนี้

ปกหลังระบุว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีการช่าง ตลาดกระทุ่มแบน สมุทรสาคร นายชลอ ศรีสุกใส ผู้พิมพ์โฆษณา


ประวัติโดยสรุปย่อ

พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ)

▪️ นามเดิมชื่อ เล้ง นามสกุล ไร่ผล

▪️ เกิด ๔ กรกฎาคม ๒๔๒๔ ที่บ้าน ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

▪️ เป็นบุตรลำดับที่ ๔ ในจำนวนบุตรทั้งหมด ๗ คน

▪️ มารดาชื่อนางเย็น ไร่ผล, บิดาชื่อนายบุญมา ไร่ผล

▪️ พ.ศ. ๒๔๕๐ อายุ ๒๖ ปี อุปสมบทที่วัดนางสาว มีหลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดนางสาวขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อแก้ว ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าชาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์, ท่านพระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) เป็นพระอนุสาสนาจารย์

▪️ พ.ศ. ๒๔๕๘ ย้ายไปวัดหงอนไก่ ตามคำชวนหลวงพ่อคงเพื่อไปช่วยงานด้านก่อสร้างอยู่ ๑ ปีจึงย้ายกลับวัดนางสาว

▪️ พ.ศ. ๒๔๖๐ ชาวอ้อมน้อยอาราธนาให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอ้อมน้อยจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗

▪️ พ.ศ. ๒๔๘๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าไม้ และเจ้าอาวาสวัดนางสาว

▪️ พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

▪️ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ดำรงตำแหน่งเป็น “พระครูนิเทศสาครธรรม”

▪️ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ มรณภาพด้วยโรคชราอย่างสงบ ที่วัดนางสาว เมื่ออายุ ๗๗ ปี


สรุปข้อมูลจาก "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเล้ง" 

โดย... แอดมิน เพจกระทุ่มแบนโฟโต้
บันทึกเมื่อ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...