ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมุทรสาคร ในนิตยสารภาพข่าวสยามนิกร รายสัปดาห์ พ.ศ. 2496

ผมมีนิตยสารเก่าที่ชื่อว่า "ภาพข่าวสยามนิกรรายสัปดาห์" อยู่ 2 เล่มที่เก็บสะสมไว้ จากการซื้อหาจากพ่อค้าหนังสือเก่า ทั้ง 2 เล่ม ตีพิมพ์ในเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496

 

ในระหว่างที่ลองพลิกดูเนื้อหาภายในเล่มก็สะดุดตากับภาพถ่ายสมุทรสาครที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในคอลัมน์ "รอบอาณาจักร" ซึ่งเป็นการรวมภาพถ่ายจากจังหวัดต่างๆ ที่ผมเข้าใจว่าผู้อ่านคนไหนที่พอจะมีฝีไม้ลายมือในการถ่ายภาพน่าจะถ่ายภาพแล้วเขียนคำบรรยายส่งเข้าไปที่นิตยสาร



ภาพแรก ถ่ายโดยคุณชวลิต จันทกาญจน์

พร้อมคำบรรยายภาพว่า

"ถนนเศรษฐกิจ" ทางหลวงสายใหม่สู่พระนคร

ภายในภาพเป็นบรรยากาศช่วงหนึ่งของถนนเศรษฐกิจ แต่ไม่ทราบว่าอยู่บริเวณไหน มองเห็นป่ายชื่อถนนที่ระบุว่า "ถนนเศรษฐกิจ 1" ซึ่ง ถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นเส้นที่เชื่อมแยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) ในปัจจุบันแยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) สิ้นสุดที่สี่แยกมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร  เสียดายที่ภาพพิมพ์ในนิตยสารเก่าอายุเกือบ 70 ปี ฉบับนี้ไม่คมชัดนัก แต่ผมอนุมานว่าน่าจะเป็นบริเวณต้นถนนฝั่งมหาชัย นั่นก็คือแถวๆ สี่แยกมหาชัยนั่นเอง หากคลาดเคลื่อนอย่างไร รบกวนท่านผู้รู้โปรดชี้แนะด้วยครับ


ภาพที่ 2 ถ่ายโดยคุณสุรเดช ผาสุข

พร้อมคำบรรยายภาพว่า

"การคมนาคมทางน้ำยังมีความสำคัญอยู่มากมายในบางส่วนของประเทศไทยที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง"

ภายในภาพเป็นบรรยากาศเรือขนาดใหญ่ชื่อ ท่าจีน 2 และเรือแจวรับจ้างของชาวบ้าน ริมฝั่งน้ำมองเห็นบ้านเรือนเรียงรายขนานริมน้ำไป ไม่ทราบสถานที่ถ่าย

ผมยังเดาว่าน่าจะมีภาพจังหวัดสมุทรสาครในนิตยสารภาพข่าวสยามนิกรรายสัปดาห์อยู่อีก แต่คงตามหาได้ค่อนข้างยากเนื่องจากตีพิมพ์ไปเกือบ 70 ปีแล้ว คงสูญหาย ผุพังไปตามกาลเวลา แต่หากท่านใดมีก็รบกวนส่งมาแบ่งปันกันชมได้เลยนะครับ รวมไปถึงนิตยสารและสิ่งพิมพ์เก่าๆ จากฉบับอื่นๆ ด้วย

ขอบคุณที่ติดตามครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...