ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2022

นายจี๊ด พุ่มพวง คนปลายคลองกระทุ่มแบน

               หนังสือเล่มนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ ธนะ บุญศิริ มอบให้เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับกระทุ่มแบน ซึ่งผมขอถือโอกาสนี้คัดลอกในส่วนประวัติผู้วายชนม์มาให้ได้อ่านกันครับ                นายจี๊ด พุ่มพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2411 ที่ตำบลปลายคลองกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรชายคนที่ 2 ใน 3 คน ของ นายพุ่ม นางจันทร์                เมื่ออายุครบ ได้ทำการอุปสมบทที่ วัดนางสาว ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อลาอุปสมบทแล้ว ไปประกอบอาชีพทางตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งต่อมาก็ได้ทำการสมรสกับ นางม่วย พุ่มพวง และได้ถึงแก่มรณกรรมไปแต่ พ.ศ. 2468 มีบุตรร่วมกัน 9 คน ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 2 คน ปัจจุบัน (ข้อมูล พ.ศ. 2499) มีชีวิตอยู่ 7 คนคือ 1. นายผิน พุ่มพวง 2. นายวัน พุ่มพวง 3.นายปิ่น ชุนสนิท 4. นางพรหรม พงษ์พานิช 5. นายขวัน พุ่มพวง 6. นางบุญล้อม พันธ์เวช 7. นายสมควร พุ่มพวง                นายจี๊ด พุ่มพวง ได้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริตเป็นหลักฐาน เพราะความขยันหมั่นเพียร เป็นผู้มีนิ

ส้มโอนครชัยศรีในอดีต มีดีอยู่ที่อ้อมใหญ่และอ้อมน้อย

               แต่ไหนแต่ไรมา หากกล่าวถึงส้มโอที่โด่งดังมีชื่อเสียงรสชาติดีขึ้นชื่อ ใครๆ ก็มักจะนึกถึง " ส้มโอนครชัยศรี" แน่นอนว่าหลายคนคงคิดว่าพื้นที่ปลูกส้มโอนครชัยศรีดั้งเดิม ก็คงจะต้องอยู่ที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เท่านั้น จนวันหนึ่งผมได้พลิกมาเจอข้อมูลที่ทำให้ได้รู้ว่าในอดีต ส้มโอนครชัยศรีไม่ได้ดีไปทั่วทั้งเมืองนครชัยศรี แต่มีดีอยู่ย่านอ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม และย่านอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน ของเรานี่เองครับ                  จากข้อมูลในบทความเรื่อง "ส้มโอสยาม กับเทศกาลไหว้พระจันทร์" ที่เขียนโดย คุณพจน์ สัจจะ ใน นิตยสาร "ครัว" ฉบับที่ 39 กันยายน 2540 ได้กล่าวว่า                ส้มโอเป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกับส้มและมะนาว เดิมทีเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดแถวจีนตอนใต้ แต่ปัจจุบันมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ส้มโอในจีนก็รับมากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวกันว่าในภูมิภาคนี้ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย น่าจะเป็นแหล่งดั้งเดิมของส้มโอ แต่หากคำนึงถึงสายพันธุ์ส้มโอที่มีอยู่มากที่สุดเป็นหลัก ถิ่นแรกของส้มโอก็เป็นสยามบ้านเรานี่เอง                หลักฐานทางเอกสาร [ในบทความ

ทำความรู้จัก ประตูน้ำกระทุ่มแบน (ประตูน้ำอ่างทอง)

           ย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีก่อนที่ผมเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกระทุ่มแบนทั้งภาพถ่ายเก่า ประวัติต่างๆ ทั้งจากหนังสือและคำบอกเล่าของคนในชุมชนเอง หนึ่งในภาพและเรื่องราวที่น่าสนใจในการออกตามหาครานั้นก็คือ ภาพประตูน้ำอ่างทอง หรือประตูน้ำกระทุ่มแบนนั่นเอง            ขอเล่าความเดิมเกี่ยวกับคลองภาษีเจริญสักเล็กน้อยคร่าวๆ ครับ            เมื่อราว พ.ศ. 2393 - 2410  ช่วงที่การค้าน้ำตาลและผลผลิตจากน้ำตาลรุ่งเรือง สังเกตได้จากจำนวนโรงงานน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี (แม่น้ำท่าจีนในช่วงที่ไหลผ่านสมุทรสาคร) ซึ่งมีมากถึง 23 แห่ง ในปี พ.ศ. 2408 และพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีมากที่สุดในช่วงนั้นก็คือ ย่านนครชัยศรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครชัยศรีเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าน้ำตาลและอำนวยความสะดวกในการขนส่งน้ำตาลจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดและกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก จึงมีการขุดคลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก เพื่อให้สามารถลำเลียง ภาพคร้อปส่วนแผนที่ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ            หลังจากการเริ่มต้นขุดคลองภาษีเจริญ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พศ. 2409 (บางตำร

ประวัตินายไล่ชุ้น-นางลูกอินทร์ เปาทอง และเรื่องโรงพิมพ์กิมหลีหงวน

          นับตั้งแต่ผมสะสมหนังสือเก่าที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับกระทุ่มแบนมาระยะเวลาพอสมควร พบว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่มีความเกี่ยวข้องกับคนกระทุ่มแบน ก่อนปี พ.ศ. 2500 ลงไป ส่วนใหญ่จะพิมพ์ที่โรงพิมพ์นอกพื้นที่กระทุ่มแบน เช่น โรงพิมพ์ศรีหงส์ โรงพิมพ์มหาดไทย โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ โรงพิมพ์ศึกษาธรรมดา (สี่แยกสะพานดำ ถนนวรจักร) โรงพิมพ์พระจันทร์ (ท่าพระจันทร์ จังหวัดพระนคร) โรงพิมพ์สยามราษฎร์ (ถนนอัศฎางค์) โรงพิมพ์กิมหลีหงวน เป็นต้น หนังสืออนุสรณ์งานศพนายไล่ชุ้น เปาทอง พ.ศ. 2482 หนังสืออนุสรณ์งานศพนางลูกอินทร์ เปาทอง พ.ศ. 2497             วันหนึ่งผมได้หนังสืออนุสรณ์งานศพที่เกี่ยวกับคนกระทุ่มแบน ยุค 2470-2490 มาอ่านข้อมูล เมื่อพลิกดูพบว่ามีประวัติผู้วายชนม์คนกระทุ่มแบน 2 ท่าน คือ นายไล่ชุ้น เปาทอง และ นางลูกอินทร์ เปาทอง มีลูกสาวชื่อนางกิมกี แซ่ลิ้ม หรือ นางกิมกี สุวรรณสุขโรจน์ ไปทำธุรกิจโรงพิมพ์อยู่ที่กรุงเทพฯ ชื่อ โรงพิมพ์กิมหลีหงวน             ก่อนอื่นใดขอให้ข้อมูลผู้วายชนม์ 2 ท่าน จากหนังสือ 2 ชุดนี้กันก่อนนะครับ นายไล่ชุ้น เปาทอง               เกิด ณ วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ

กำนันเดิม แสงวิรุณ ของชาวตำบลท่าไม้

ประวัติย่อของ กำนันเดิม แสงวิรุณ           นายเติม แสงวิรุณ เกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เป็นบุตรคน สุดท้องของ ขุนท่าไม้มนาทร (สี แสงวิรุณ) กับ นางแก้ว แสงวิรุณ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกำนั นตำบลท่าไม้สืบต่อ ๆ กันมา ขุนท่าไม้มนาทรซึ่งเป็น ตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎเกล้าเจ้าอยู่หั วพระราชทานความดีความ ชอบในตำแหน่งกำนันตำบลท่าไม้ ในสมัยนั้น การปกครองระบอบราชาธิปไตยยังไม่ มีการเปลี่ยนแปลง ต้นตระกูลเดิมนั้นได้รับหน้าที่ เป็นนายอากร บ่อนเบี้ย มีหน้าที่เก็บผลประโยชน์ส่งท้ องพระคลังหลวงตลอดมา จนกระทั่งยกเลิกอากรบ่อนเบี้ยทั่ วประเทศในสมัยต่อมา ขุนท่าไม้มนาทรมีบุตร เกิดกับนางแก้ว แสงวิรุณ รวม 7 คน ดังนี้ นางกิมไล้ แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม) นายผลัด แสงวิรุณ นางลพ ไทยกิ่ง (ถึงแก่กรรม) นายแคล้ว แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม) นางผิว จาบถนอม นางกิมกี แสงวิรุณ นายเติม แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม)             เมื่อ ขุนท่าไม้มนาทร ถึงแก่ กรรมแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งมอบหมายให้ นายเติม แสงวิรุณ ซึ่งเป็นบุตรเป็นกำนันตำบลท่ าไม้แทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงแก่กรรม รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นกำนั นตำบลท่า