ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) ลูกศิษย์ครูฮวด ร.ร.สุระวิทยา

ขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย)


          ผมตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้พบหนังสืออนุสรณ์ของคนกระทุ่มแบนรุ่นเก่าๆ เพราะจะได้มีโอกาสอ่านประวัติของท่านเหล่านั้นที่ได้รับการตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ และเล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่ตื่นเต้นเพราะไม่เคยคุ้นชื่อหรือนามสกุลท่านมาก่อน ด้วยคนกระทุ่มแบนหลายคนก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือมีเหตุปัจจัยอื่นจึงมีการย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดต่างๆ บางครั้งไม่มีลูกหลานหลงเหลืออยู่ในกระทุ่มแบนเลย คนรุ่นหลังๆ อย่างผมจึงไม่คุ้นนั่นเอง 

          หนังสือเล่มนี้ผมได้รับความเมตตาจากอาจารย์ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย หรืออาจารย์อ้วนที่ผมเคารพนับถือ ได้อนุเคราะห์มอบให้ด้วยทราบว่าผมเก็บรวบรวมสะสมภาพ ข้อมูล ประวัติเกี่ยวกับกระทุ่มแบน 

          หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาดราว 17x10 เซ็นติเมตร ปกแข็งบุนวมเดินทอง เนื้อหาส่วนต้นเป็นประวัติผู้วายชนม์ ส่วนหลังเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา

          ในประวัติขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) มีดังนี้ครับ

          ขุนพิทักษ์ชลาศัย (นามเดิม พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) เป็นบุตรของ ขุนกระทุ่มแบนบริบาล (อุ่น คเชนทร์ชัย) และนางเฮียะ คเชนทร์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2453 ณ บ้านตำบลกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร


การศึกษา

เริ่มเข้าศึกษาในโรงเรียนสุระวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2451 จนสอบไล่ได้ชั้น ประโยคประถมปีที่ 3

(แอดมินเพิ่มเติม / โรงเรียนสุระวิทยา คือ โรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่นายฮวด แสงลออ (หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า คุณครูฮวด) จัดตั้งขึ้นที่วัดดอนไก่ดีขณะที่ครูฮวดอุปสมบทอยู่ที่นั่น โดยครูฮวดได้ทำการสั่งสอนด้วยตนเอง มีศิษย์ที่รับการศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ได้ทำการสอนอยู่ถึง 4 พรรษาจึงลาสิกขาบท -- อ่านเพิ่มเติมประวัติครูฮวดได้ที่ https://www.kratoom.net/2021/07/KruHuadbio.html)


การรับราชการ

1 สิงหาคม 2457 ดำรงตำแหน่งรังวัดช่างเขียน กรมทาง

8 มกราคม 2459 ดำรงตำแหน่งช่างจัตวา แผนกแบบแผน กองก่อสร้าง กรมชลประทาน

1 เมษายน 2464 ดำรงตำแหน่งช่างตรี แผนกแบบแผน กองก่อสร้าง กรมชลประทาน

1 เมษายน 2482 ดำรงตำแหน่งช่างโท แผนกแบบแผน กองก่อสร้าง กรมชลประทาน

9 เมษายน 2485 ดำรงตำแหน่ง ช่างโท ฝ่ายช่างเขียน กองแผนผัง กรมชลประทาน

1 มกราคม 2495 ดำรงตำแหน่งช่างโท แผนกแผนผัง กองวิชาการ กรมชลประทาน

1 มกราคม 2497 ดำรงตำแหน่งช่างเอก แผนกแผนผัง กองวิชาการ กรม ชลประทาน

1 เมษายน 2503 ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เหตุรับราชการนาน


ได้รับพระราชทานยศ

18 พฤศจิกายน 2471 เป็นรองอำมาตย์โท


ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

9 พฤศจิกายน 2477 เป็นขุนพิทักษ์ชลาศัย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน

พ.ศ. 2475 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. 2480 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2485 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. 2487 เหรียญจักรพรรดิมาลา

พ.ศ. 2491 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก


การสมรส

ขุนพิทักษ์ชลาศัย ได้สมรสกับนางสาวเล็ก มุสิกพุกก์ มีบุตรธิดารวม 5 คนคือ

1. นางบุญล้อม สมรสกับ นายแพทย์สิริ ติวยานนท์ มีบุตรธิดา 2 คน

2. เรือโทเลิศ คเชนทร์ชัย สมรสกับ นางสาวเพิ่มสิริ อำไพวณิช มีบุตร ธิดา 4 คน

3. เรือเอกลักษณ์ คเชนทร์ชัย สมรสกับ นางสาวสุมาลี พัฒนพานิช บุตรธิดา 2 คน

4. นายสมเกียรติ คเชนทร์ชัย สมรสกับ นางสาววัชรา ปุงคานนท์ มีบุตร ธิดา 4 คน

5. นางนวลน้อย สมรสกับ นายประเสริฐ ศงสะเสน มีบุตรธิดา 4 คน


หลานทั้งหมด 16 คน

1. นายอดุล ติวยานนท์

2. น.ส. รมณี ติวยานนท์

3. นายประลองผล คเชนทร์ชัย

4. นางมนวิภา จักษุรักษ์

5. น.ส. ดารณี คเชนทร์ชัย

6. นายธีรเดช คเชนทร์ชัย

7. ด.ญ. วีรวรรณ คเชนทร์ชัย

8. ด.ช. สุมิต คเชนทร์ชัย

9. นายเกรียงไกร คเชนทร์ชัย

10. ด.ช. กริช คเชนทร์ชัย

11. ด.ญ. กรุณา คเชนทร์ชัย

12. ด.ญ. กริยา คเชนทร์ชัย

13. ด.ช. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน

14. ด.ญ. นุชรินทร์ ศงสะเสน

15. ด.ญ. ชนินทร ศงสะเสน

16. ด.ช. สรเดช ศงสะเสน

และมีเหลน 1 คน

          ท่านเป็นผู้รักความจริงและความยุติธรรม ตลอดชีวิตของท่านไม่เคยเบียดเบียนผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน มีนิสัยตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ไม่เคยมีความด่างพร้อยใน หน้าที่ราชการ

          ท่านบำเพ็ญตนเป็นบิดาที่ดีของบุตรธิดา เป็นญาติที่ดีของญาติ เป็นมิตรที่ดีของมิตร เพราะประกอบกิจหน้าที่เป็นอย่างดี สมกับฐานะทุกประการ ท่าน สนับสนุนให้การศึกษาและอบรมอย่างดีกับบุตรธิดา จนบุตรธิดาทุกคนต่างประกอบอาชีพ และมีครอบครัวเป็นหลักฐานแล้วอย่างสมบูรณ์ ด้วยนำพักน้ำแรงของท่านเอง ซึ่งเห็นควรจะน่ามากล่าวเพื่อประกอบความดีงามของท่าน คือ

1. นางบุญล้อม ติวยานนท์ ข้าราชการชั้นพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์

2. เรือโทเลิศ คเชนทร์ชัย หัวหน้าส่วนการองค์งานธนาคารแห่งประเทศไทย

3. เรือเอกลักษณ์ คเชนทร์ชัย หัวหน้ากองควบคุมและส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ กรมเจ้าท่า

4. นายสมเกียรติ คเชนทร์ชัย พนักงานอาวุโส บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

5. นางนวลน้อย ศงสะเสน นักวิทยาศาสตร์ กรมชลประทาน

          ท่านมีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว ตั้งแต่ก่อนจะออกจากราชการ เนื่องจากเกษียณอายุ ต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย ท่านเข้ารักษาตัวโรงพยาบาลศิริราช เนื่องด้วยเส้นโลหิตอุตตัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2514 และถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นโลหิตอุดตัน ด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2514 เวลาประมาณ 19.00 น.

สิริอายุได้ 72 ปี 4 เดือน

---
คัดลอกข้อมูลจาก อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2514

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...