ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นายเชาวน์ สุทธิบุตร คนกระทุ่มแบน ผู้ไปเปิดธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินสะดวก

 


          ผมตั้งใจว่านอกเหนือจากข้อมูลที่สืบค้นและปะติดปะต่อ ทั้งจากหนังสือต่างๆ และการสัมภาษณ์คนกระทุ่มแบนในพื้นที่แล้ว ก็อยากจะนำข้อมูลประวัติคนกระทุ่มแบน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนกระทุ่มแบนจากหนังสืออนุสรณ์งานศพต่างๆ หนังสือที่ระลึกต่างๆ มาพิมพ์โดยสรุป หรือคัดลอกส่วนประวัติ มาพิมพ์เผยแพร่ไว้ เพื่อเป็นต้นทุนในการสืบสาวราวเรื่องบุคคล และประวิัติศาสตร์ของกระทุ่มแบนต่อไป โดยขอเริ่มจากเล่มนี้ที่สุ่มหยิบมาจากชั้นหนังสือที่สะสมไว้ มานำเสนอให้ได้อ่านกันครับ


นายเชาวน์ สุทธิบุตร เกิดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2454 ที่บ้านนครชัยศรี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายลี นางบุญรอด มีพี่น้องรวม 8 คน คือ        
  1. นางกี เฟื่องมณี
  2. นายเชาวน์ สุทธิบุตร
  3. นางล้วน อยู่สมบูรณ์
  4. นางประทิน (เง็ก) เสียงแจ้ว
  5. นายเกษม (เส็ง) สุทธิบุตร
  6. นายสั่ง สุทธิบุตร
  7. นางอำนวย บุญประคอง
  8. นางอำไพ
          ได้เรียนหนังสือที่วัดนางสาว อำเภอกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร และบวชที่วัดนางสาว แต่ไปจำพรรษาที่วัดกลางบางแก้ว หลังจากลาอุปสมบทแล้วได้ไปประกอบอาชีพเดินเรือประจำทางอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก และได้สมรสกับนางสาวนิภา ภู่ศิริ บุตรนายแดง นางจิ๋ว ภู่ศิริ เจ้าของเอเย่นต์น้ำมันเชลล์ ของอำเภอดำเนินสะดวก เมื่อตั้งหลักฐานที่อำเภอดำเนินสะดวกแล้ว นอกจากจะเป็นเจ้าของเรือโดยสารอยู่ประมาณ 9 ลำแล้ว นายเชาวน์ สุทธิบุตร ยังได้ประกอบอาชีพค้าขายอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่าเปิดบริษัทสรรพพาณิชย์ เป็นเอเย่นต์ จำหน่ายบุหรี่ น้ำมันเชลล์และสรรพสินค้าต่างๆ จนได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้เป็นพ่อค้าชั้นโทในสมัยนั้น

          ต่อมาได้ชักชวนพรรคพวกเพื่อนฝูงที่สนิท 2-3 คน มาดำเนินกิจการทำโรงน้ำแข็ง บริษัท ดำเนินขนส่ง จำกัด ซึ่งยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2523 /แอดมิน)

          เมื่อปี พ.ศ. 2497 คุณแม้นและคุณวิจิตรา อรจันทร์ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และเป็นผู้มีเมตตาและสนับสนุนนายเชาวน์มาตลอด ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งนายอำเภอดำเนินสะดวก ได้แนะนำและสนับสนุนให้นายเชาวน์ เป็นตัวแทนธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ที่อำเภอดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นธนาคารแรกของอำเภอนี้ ต่อจากนั้นนายเชาวน์ ก็ได้เป็นตัวแทนของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ไปเปิดสาขาที่จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดปราจีนบุรีอีก เมื่อกิจการของธนาคารได้ดำเนินไปด้วยดีแล้ว และทางธนาคารได้เลิกนโยบายตัวแทนทั่วประเทศไทย นายเชาวน์ จึงได้ถอนตัวออกจากธนาคารที่เป็นตัวแทนอยู่ทุกแห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2516

นายเชาวน์ สุทธิบุตร

          นายเชาวน์ สุทธิบุตร มีบุตร-ธิดา รวม 5 คน
  1. พ.ญ. รัชนี ณ ระนอง คู่สมรส พ.ต.ท. พิภพ ณ ระนอง
  2. นายชาญวิทย์ สุทธิบุตร คู่สมรส นางวงเดือน สุทธิบุตร
  3. ด.ญ. นิตยา สุทธิบุตร ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 6 ปี
  4. นายชัยวุฒิ สุทธิบุตร คู่สมรส นางจิตรเลขา สุทธิบุตร
  5. นายเชวงศักดิ์ สุทธิบุตร คู่สมรส นางสาริกา สุทธิบุตร

          เมื่อปี พ.ศ. 2509 นายเชาวน์ ได้บริจาคที่ดิน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นที่สร้างองค์การสะพานปลา จำนวนเนื้อที่ 4 งาน 83.6 ตารางวา เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุรภาภรณ์มงกุฎไทย ชั้น 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510

          นายเชาวน์ สุทธิบุตร ได้เริ่มเจ็บหนักครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 และหลังจากนั้นก็มีร่างกายไม่แข็งแรง ตรงเข้า-ออกโรงพยาบาล 2-3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2523 ด้วยโรคไตอักเสบ จนถึงแก่กรรมด้วยความสงบ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2523

          ฝากติดตามอ่านประวัติคนกระทุ่มแบนเท่าที่ผมรวบรวมได้ ในโอกาสต่อๆ ไปกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

---
คัดลอกประวัติจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเชาวน์ สุทธิบุตร ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฎกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2523




โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...