ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติ นายเล็ก พารักษา ชาวกงสีล้ง (ท่าไม้) กระทุ่มแบน

 



ระหว่างค้นหนังสือประวัติคนกระทุ่มแบนท่านหนึ่งให้รุ่นพี่ที่กระทุ่มแบน ก็เปิดมาพบหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง อดที่จะหยิบมาพลิกอ่านประวัติอีกครั้งไม่ได้ เพราะคุ้นๆ ว่าเคยจะนำประวัติมาพิมพ์ลงในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ และอาจเป็นประโยชน์กับรุ่นลูกหลานหรือญาติพี่น้องที่กำลังสืบหาประวัติบรรพบุรุษกันอยู่

ในประวัติทำให้นึกถึงชื่อ กงษีล้ง (สะกดตามหนังสืออนุสรณ์ต้นฉบับ) / กงสีล้ง ที่ผมเองเคยได้ยินคุณยายและม่กล่าวถึงอยู่เวลาถามถึงประวัติเก่าๆ เลยต้องจดโน๊ตเอาไว้ เพื่อค้นประวัติกันต่อ

หนังสือเล่มนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ธนะ บุญศิริ นักสะสมหนังสือที่ผมเคารพมากๆ อีกท่านหนึ่ง ได้กรุณามอบให้ไว้ เมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓ 

ตัวเล่มมีขนาดประมาณ ๑๓ x ๑๙ เซ็นติเมตร หน้าประมาณ ๓๐ กว่าหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเจริญคุณบิดามารดา และ ธรรมภาษิต รวมถึงบทสวดมนต์บางบท พิมพ์ที่บริษัท กิมหลีหงวน จำกัด หรือโรงพิมพ์สมัยนิยม ซึ่งผมทราบคร่าวๆ มาว่าเจ้าของเป็นคนกระทุ่มแบนเช่นกัน เอาไว้ต้องตามค้นประวัติกันต่อไปในคราวหน้า

ส่วนประวัติของผู้วายชนม์ ผมขอคัดลอกมาตามต้นฉบับ (ยกเว้นการพิมพ์อักษรย่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล ซึ่งมีการพิมพ์ทั้ง 2 แบบ ผมขอรวบเป็นแบบย่ออย่างเดียวนะครับ)

ประวัติสังเขป

นายเล็ก พารักษา ชาตะ พ.ศ. ๒๔๒๕ มรณะ พ.ศ. ๒๔๙๘ (อายุ ๗๓ ปี) เป็นบุตรนายซำจก นางภา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ที่ ต. ท่าไม้ (กงษีล้ง) อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร ต่อมาอายุได้ ๒๗ ปี ได้ทําการสมรสกับ น.ส. บุญมาก เปาทอง บุตรนายเป๋า นางบาง และ ดำเนินกิจการค้าอยู่ตลาดบางท่าไม้ (กงษีล้ง) และต่อมาได้ย้ายมาดำเนินกิจการค้า อยู่ที่บ้าน ต. ตลาดกระทุ่มแบน อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาครตลอดมา 

นายเล็ก พารักษา เป็นผู้มีใจกว้างขวางและโอบอ้อมอารีย์ต่อญาติ พี่น้อง และมิตรสหายทั่วไป ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๙๘ ได้ป่วยลงด้วยโรคหัวใจพิการ บุตรและธิดาได้ทำการรักษาพยาบาลจนสุดความสามารถ มีแต่ทรงกับทรุด ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๘ เวลา ๒๓.๐๕ น. ได้ถึงแก่มรณะกรรม จึงเป็นที่อาลัยและสลดใจแก่บุตรธิดาและมิตรทั่วไป 

นายเล็ก พารักษา มีบุตรรวม ๖ คน และยังมีชีวิตอยู่ คือ

๑. นายเซี้ยง พารักษา ดำเนินกิจการค้าอยู่ ตลาดอ้อมน้อย อ. สามพราน จ. นครปฐม 

๒. นายบรรจง (เซี้ย) พารักษา ดำเนินกิจการค้าอยู่ตลาดกระทุ่มแบน อ. กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 

๓. นายกิมเส่ง พารักษา ดำเนินกิจการค้าอยู่ตลาดกระทุ่มแบน อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร 

๔. นางกิมอู๋ พารักษา ดำเนินกิจการค้าอยู่ ตลาดกระทุ่มแบน อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร 

๕. นายชิต พารักษา ดำเนินกิจการค้าอยู่ ตลาดพลู อ.  ธนบุรี จ. ธนบุรี

๖.  น.ส. สร้อยทอง พารักษา ช่วยมารดาดำเนินกิจการค้าอยู่ ต. ตลาดกระทุ่มแบน อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร

-----
คัดลอกจากหนังสือเรื่องเจริญคุณบิดามารดา และ ธรรมภาษิต
บริษัท กิมหลีหงวน จำกัด กับ คณะบุตรธิดา-หลาน 
พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายเล็ก พารักษา 
ณ เมรุวัดดอนไก่ดี 
อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร 
เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

*หมายเหตุ กงษีล้ง สะกดตามต้นฉบับในหนังสืออนุสรณ์ 



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo