ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำนันเดิม แสงวิรุณ ของชาวตำบลท่าไม้

กำนันเติม แสงวิรุณ

ประวัติย่อของ กำนันเดิม แสงวิรุณ

          นายเติม แสงวิรุณ เกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เป็นบุตรคน สุดท้องของ ขุนท่าไม้มนาทร (สี แสงวิรุณ) กับนางแก้ว แสงวิรุณ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกำนันตำบลท่าไม้สืบต่อ ๆ กันมา ขุนท่าไม้มนาทรซึ่งเป็น ตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานความดีความ ชอบในตำแหน่งกำนันตำบลท่าไม้ในสมัยนั้น การปกครองระบอบราชาธิปไตยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต้นตระกูลเดิมนั้นได้รับหน้าที่เป็นนายอากร บ่อนเบี้ย มีหน้าที่เก็บผลประโยชน์ส่งท้องพระคลังหลวงตลอดมา จนกระทั่งยกเลิกอากรบ่อนเบี้ยทั่วประเทศในสมัยต่อมา ขุนท่าไม้มนาทรมีบุตร เกิดกับนางแก้ว แสงวิรุณ รวม 7 คน ดังนี้
  1. นางกิมไล้ แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม)
  2. นายผลัด แสงวิรุณ
  3. นางลพ ไทยกิ่ง (ถึงแก่กรรม)
  4. นายแคล้ว แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม)
  5. นางผิว จาบถนอม
  6. นางกิมกี แสงวิรุณ
  7. นายเติม แสงวิรุณ (ถึงแก่กรรม)
          เมื่อขุนท่าไม้มนาทรถึงแก่กรรมแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งมอบหมายให้นายเติม แสงวิรุณ ซึ่งเป็นบุตรเป็นกำนันตำบลท่าไม้แทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงแก่กรรม รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลท่าไม้นานถึง 31 ปีเศษ ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่กำนันตำบลท่าไม้นาน 31 ปีเศษนี้ ได้บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นให้เจริญดังที่ปรากฏ ทั้งในด้านการจัดสร้างสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน ถนนหนทาง และการทะนุบำรุงพระศาสนา ไม่เฉพาะแต่ในตำบลท่าไม้ เท่านั้น แม้แต่ในท้องถิ่นอื่นก็ได้ทำนุบำรุงท้องถิ่นนั้น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับเลือกตั้งให้เป็สมาชิกสภาจังหวัด ตลอดมาทุกสมัยโดยได้รับคะแนนนิยมสูงสุดตลอดมา ซึ่งย่อมเป็นผลสะท้อนมาจากการปฎิบัติหน้าที่ในด้านการทะนุบำรุงท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและอดทนเสียสละตลอดมานั่นเอง

          ในด้านการส่งเสริมการศึกษาของท้องถิ่นนั้น กำนันเติม แสงวิรุณ ได้รับหน้าที่เป็นประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนวัดนางสาว, เป็นนายกสมาคมครู, ผู้ปกครองและศิษย์เก่าของโรงเรียนแห่งนี้ ตลอดมาจนกระทั่งถึงแก่กรรม แม้กระทั่งใกล้จะถึงวาระสุดท้ายบั้นปลายของชีวิตได้เสียสละกำลังทรัพย์ส่วนหนึ่ง สมทบทุนสร้างโรงเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่ง เพื่อให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

          ในด้านการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรนั้น ตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่กำนันตำบลท่าไม้เป็นเวลาอันยาวนานถึง 31 ปีเศษนี้ เหตุการณ์โจรผู้ร้ายในท้องถิ่นสงบเรียบร้อย เนื่องจากความเด็ดขาดและการเอาใจใส่ในการรักษาความสงบสุขของท้องถิ่นอย่างแท้จริง แม้มีเหตุการณ์ ไม่สงบสุขเกิดขึ้น ก็ได้จัดการแก้ไขร่วมมือกับฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการแก้ไขเหตุการณ์นั้น ๆ โดยฉับพลัน ทำให้เป็นที่รักเคารพของประชาชนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

          การจากไปอย่างกะทันหันของกำนันเติม แสงวิรุณ นี้ ทำให้ท้องถิ่นสูญเสียคนสําคัญในการบูรณะพัฒนาไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากงานบางอย่างที่ทำค้างไว้ก็ยังไม่แน่ว่าจะหาผู้ใดมาดำเนินการต่อไปได้สำเร็จหรือไม่ เช่น การก่อสร้างศาลาการเปรียญ และฌาปนสถานของวัดนางสาว ซึ่งกำลังก่อสร้างยังไม่สำเร็จอยู่ในขณะนี้

          ผลงานชิ้นสุดท้ายที่กำนันเติม แสงวิรุณ ดำเนินการไว้ คือ การก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ของ ร.ร. วัดนางสาว ซึ่งทางราชการตั้งงบประมาณ ไว้ไม่เพียงพอ หากไม่มีผู้ประมูลรับเหมาก่อสร้างที่จำเป็นจะต้องส่งเงินคืนคลังไป ซึ่งก็จะทำให้เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ กำนันเติม แสงวิรุณ จึงเสียสละทุนทรัพย์ส่วนตัวจำนวนสองหมื่นสามพันบาทเศษ เข้าร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างเองในครั้งนี้ โดยวางเงินก่อนถึงแก่กรรม เพียง 2 วัน ต่อมานายเฉลิม สิขัณฑกสมิต ครูใหญ่ ร.ร. วัดนางสาว ร่วมกับคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่นี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นับได้ว่ากำนันเติม แสงวิรุณ ได้เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์และกำลังใจเพื่อทะนุบำรุงท้องถิ่นมาอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา

กำนันเติม แสงวิรุณ

          นส่วนประวัติย่อจบเพียงเท่านี้ แต่ยังมีบางส่วนของคำไว้อาลัยที่เขียนโดยบุตรและธิดา ที่มีเรื่องราวที่เป็นเกร็ดในประวัติที่น่าสนใจ ซึ่งผมขอนำมาเพิ่มเติมไว้ดังนี้

คุณพ่อ

          ลูก-ลูกทุกคนเรียกคุณพ่อว่า "เตี่ย" เมื่อถามท่านว่าทำไมจึงไม่ให้เรียกท่านว่า "คุณพ่อ" ท่านตอบว่า สมัยก่อนเราเรียกสืบเนื่องตั้งแต่ก๋งมาแล้ว ท่านก็เรียกเตี่ยของท่านว่าเตี่ย และเตี่ยของเตี่ยก็เป็นกำนันเหมือนกัน คนอื่น ๆ ก็ได้เรียกก๋งกำนันว่า ท่านขุนท่าไม้มนาทร (กำนันสี) แต่ตัวพ่อเองก็เรียกก๋งว่าเตี่ยตลอดมา จึงนิยมให้ลูกเรียกเตี่ย เพราะตระกูลของเรามาจากจีน

          นอกจากนั้น ท่านยังถือเป็นธรรมเนียมประจำปีอยู่ ทุก ๆ ปี เมื่อถึงเดือนเมษายนของวันที่ ๕ ท่านจะให้ลูกหลานนำอาหารไปเคารพศพเล่ากงที่ก๋งได้ทำฮวงซุ้ยไว้ที่กงษีล้ง หมู่ ๑๑ ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน ทุก ๆ ปีตลอดมา 

          ในชีวิตของเตี่ยได้ให้ความรัก ความสนิทสนมเป็นกันเองกับลูก ๆ หลาน ๆ ทุกคน ทั้งเขยและสะใภ้โดยถ้วนหน้ากัน เตี่ยเป็นพ่อที่รักอย่างแท้จริง และเป็นพ่อที่รักลูกทุกคน รักพวกเราที่ได้ให้กำเนิดมาเป็นลูกของท่าน

          แม้ความตายจะเป็นสิ่งธรรมดา ไม่มีผู้ใดจะหนีพ้น จะต้องประสบเข้าสักวันหนึ่ง แต่ลูกก็อดเศร้าเสียดายไม่ได้ที่เตี่ยต้องจากไป การสูญเสียเตี่ยทำให้รู้สึกขาดสิ่งสำคัญในชีวิต ทุกอย่างเงียบเหงาไม่สนุกสนาน รื่นเริงเหมือนเมื่อครั้งเตี่ยยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีความทุกข์โศกอันใดจะใหญ่หลวงไปกว่านี้อีกแล้ว เตี่ยได้จากไปโดยกะทันหัน ไม่ได้ ได้สั่งเสียลูก ลูกไม่มีโอกาสตอบแทนบุญคุณ ป้อนข้าวป้อนน้ำ ปรนนิบัติเตี่ยเลย ชาติหน้ามีจริง ลูกลูกทุกคนขอมาเกิดร่วมเป็นลูกของเตี่ยอีกทุกชาติไป

          ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวใหญ่ เรามีแม่หลายแม่ ลูก ๆ ทุกคนได้รับความอบอุ่นจากเตี่ยเสมอหน้ากัน เตี่ย เป็นที่พึ่งของลูก ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องในครอบครัว และเรื่องการงานของลูก เตี่ย สอนให้ลูกมีความซื่อสัตย์สุจริตร สอนให้มีความขยันต่อการงานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ และเตี่ย ก็ได้ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแก่ลูกมาตลอดชีวิตของท่าน แม่อายุของเตี่ย จะยังไม่ถึงคราวจากไป ก็มาจากไปโดยกะทันหันอย่างนี้ ลูกทุกคนจะไม่ใจหายใจคว่ำกันอย่างไร

          เตี่ยเคยพูดว่า ลูกทุกคนมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่าน จะขาดลูกคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เมื่อเห็นว่าใครคนไหนหายไปจะสอบถามทันที

          เตี่ยได้จากไปแล้ว แต่ลูกลูกยังมีความรู้สึกเหมือนเตี่ยยังมีชีวิตอยู่กับพวกเรา เพราะเตี่ย ไม่ค่อยจะอยู่กับที่นาน ๆ ประเดี๋ยวไปเยี่ยมครอบครัวโน้น ประเดี๋ยวมาเยี่ยมครอบครัวนี้ เมื่อเตี่ย หายไปก็ยังนึกว่าเตี่ย ไปหาครอบครัวโน้นยังไม่มา จึงทำให้นึกถึงเตี่ยว่ายังอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้รูปนึกว่าเตี่ยยังมีชีวิตอยู่

          โรคภัยที่คุกคามชีวิตเตี่ย เป็นประจำคือโรคหืด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อย, หอบอยู่เป็นประจำ เหตุนี้ที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักประกอบกับเตี่ย ต้องเดินทางไกลอยู่เป็นประจำเกี่ยวกับธุรกิจและการค้าขาย ร่างกายไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ก่อนหน้าที่เตี่ยจะเสียชีวิตได้เดินทางไปอำเภอปากช่อง เพื่อดูโรงเลื่อยและสั่งไม้มาสร้างโรงเรียน แล้วเดินทางไปจังหวัดตราด กลับมาบ้านเตี่ย ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอจึงทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบ และเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ลูก ๆ ทุกคนขอให้วิญญาณของเตี่ย จงไปสู่สุคติเถิด ความดีงามตลอดชีวิตเตี่ย ที่ผ่านมา จะเป็นเครื่องจรรโลงใจลูกทุกคน และขอเกิดเป็นลูกของเตี่ยทุก ๆ ชาติ ทั้งในชีวิตนี้และภพหน้าด้วยเทอญ.

          บุตร-ธิดา
               พ.ต.ต. สำเริง แสงวิรุณ
               ยุพิน สว่างไสว
               ยุพา ประมาณพล
               ส.ต.ท. สำราญ แสงวิรุณ
               อำไพ สุอังคะ
               อัมพร แสงวิรุณ
               ติ๋ม แสงวิรุณ

ส่วนเนื้อหาในเล่มส่วนถัดไปก็จะเป็นเรื่องตำนานเรื่องเลิกหวยและถั่วโป ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันเช่นเคย แล้วพบกันใหม่ในประวัติคนกระทุ่มแบนท่านถัดไปนะครับ

---
คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ กำนันเติม แสงวิรุณ ณ เมรุ วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2519

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ กำนันเติม แสงวิรุณ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo