ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นายจี๊ด พุ่มพวง คนปลายคลองกระทุ่มแบน

            หนังสือเล่มนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ธนะ บุญศิริ มอบให้เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับกระทุ่มแบน ซึ่งผมขอถือโอกาสนี้คัดลอกในส่วนประวัติผู้วายชนม์มาให้ได้อ่านกันครับ

            นายจี๊ด พุ่มพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2411 ที่ตำบลปลายคลองกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรชายคนที่ 2 ใน 3 คน ของนายพุ่ม นางจันทร์

            เมื่ออายุครบ ได้ทำการอุปสมบทที่วัดนางสาว ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อลาอุปสมบทแล้ว ไปประกอบอาชีพทางตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งต่อมาก็ได้ทำการสมรสกับนางม่วย พุ่มพวง และได้ถึงแก่มรณกรรมไปแต่ พ.ศ. 2468 มีบุตรร่วมกัน 9 คน ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 2 คน ปัจจุบัน (ข้อมูล พ.ศ. 2499) มีชีวิตอยู่ 7 คนคือ

1. นายผิน พุ่มพวง

2. นายวัน พุ่มพวง

3.นายปิ่น ชุนสนิท

4. นางพรหรม พงษ์พานิช

5. นายขวัน พุ่มพวง

6. นางบุญล้อม พันธ์เวช

7. นายสมควร พุ่มพวง

            นายจี๊ด พุ่มพวง ได้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริตเป็นหลักฐาน เพราะความขยันหมั่นเพียร เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตาจิต เป็นที่นับถือของบรรดาญาติมิตรและผู้คุ้นเคย เพราะว่าเป็นผู้มั่นอยู่ในศีลธรรม ยุติธรรมและความจริง เป็นผู้ไม่รู้จักคำว่าโกรธและคำหยาบ และเป็นผู้ที่พร้อมจะให้อภัยกับบุคคลซึ่งไม่เป็นมิตร เป็นผู้อบรมสั่งสอนลูกให้รู้จักต่อสู้ชีวิตและบำเพ็ญความดี เป็นที่พึ่งและเป็นที่รักนับถือของบุตรทุกคน นายจี๊ด พุ่มพวง ได้ทำหน้าที่ของพ่อได้อย่างดีที่สุด และเป็นพ่อที่ดี หาได้ยาก เมื่อยังมีชีวิตได้บำเพ็ญกิจทางศาสนาเป็นหลักฐาน เยี่ยงพุทธศาสนิกชนไว้เป็นอันมาก

            นายจี๊ด พุ่มพวง ได้ป่วยกะเสาะกะแสะโดยโรคชรามาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 บรรดาลูก ๆ ได้พยายามประคับประคอง และรักษาโดยแพทย์ตลอดมาอย่างเต็มความสามารถ ได้ทุเลาเบาบางลงแล้วก็เป็นขึ้นอีกดังนี้เรื่อยมาจนถึงเดือนกันยายน 2498 อาการของโรคชราก็ได้กำเริบมากขึ้น ความต้านทานของร่างกายก็อ่อนแอลง บรรดาลูก ๆ ได้พยายามประคับประคองดูแลกันเรื่อยมา จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 เวลา 12.55 น. ก็ถึงมรณกรรม ด้วยความรู้สึกที่ดีที่สุด และหมดลมด้วยความสงบ คำนวณอายุได้ 88 ปี

--
คัดลอกข้อมูลจากหนังสือเรื่อง "เลิกเพราะเห็นแก่ลูก"
โดย พระครูธรรมวิจักษณ์ (สำเภา ป.)
บุตรและธิดาพิมพ์อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ
คุณพ่อจี๊ด พุ่มพวง
ณ ฌาปนกิจศพสถานกองทัพบก (วัดโสมนัศวิหาร)
วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2499


ท่านใดมีหนังสืออนุสรณ์คนกระทุ่มแบนหรือหนังสือเกี่ยวกับกระทุ่มแบน
สามารถติดต่อบริจาคได้ที่ เพจกระทุ่มแบนโฟโต้นะครับ



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...