ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วินิจ บุญวิวัฒน์ - คนกระทุ่มแบนบนหน้าปกอนุสาร อสท.

วินิจ บุญวิวัฒน์

คนกระทุ่มแบนบนหน้าปกอนุสาร อสท.

          หากในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณวินิจ บุญวิวัฒน์ ไม่ได้ลงรูปหน้าปก อสท. ฉบับนี้ไว้ในส่วนประวัติ ผมเอง ก็คงไม่ได้ตามหาอนุสารเล่มนี้มาเก็บสะสม อสท. เดือนมิถุนายน 2514 ฉบับรัชดาภิเษก

          คุณวินิจ บุญวิวัฒน์ เมื่อครั้งตามเสด็จฯ เพื่อถวายงานรับใช้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในฐานะช่างภาพ-วิดีโอ (เสื้อเชิ้ตสีฟ้า แจ็กเก็ตสีน้ำเงินเข้มซ้ายมือ) ถูกถ่ายติดร่วมอยู่ในมุมหนึ่งบนพระบรมฉายาลักษณ์ที่ขึ้นปกอนุสาร อสท.

          คุณวินิจ บุญวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2481 ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เป็นบุตรของนายจำเนียร และนางแปลก บุญวิวัฒน์ มีน้องสาว 1 คน ชื่อ คุณสุชาดา บุญวิวัฒน์ (เคยรับราชการครูที่โรงเรียนบ้านปลายคลองน้อย ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร)

          คุณวินิจเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนผดุงราฎร์วิทยา ที่กระทุ่มแบน, โรงเรียนช่างอากาศอำรุง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ และ สถาบันการศึกษาการผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนโคลอมโบ ของสำนักแถลงข่าวอังกฤษ

          คุณวินิจสมรสครั้งแรกกับคุณศิริวรรณ เทียนทอง ภายหลังคุณศิริวรรณได้ถึงแก่กรรม

          ต่อมาคุณวินิจได้สมรสกับ คุณอังศุธร คงฉิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสังข์ เมื่อ พ.ศ. 2542

          เริ่มเข้าทำงานที่ฝ่ายข่าวช่อง 4 บางขุนพรหม โดยระหว่างนั้นได้รับตำแหน่ง และมีการไปศึกษาดูงานต่างๆ มากมาย โดยดำรงตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2541 คือ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. รวมอายุราชการกว่า 35 ปี 

          คุณวินิจได้มีโอกาสถวายงานรับใช้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการบันเทปโทรทัศน์ พระราชดำรัสปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน (แอดมินคาดว่าราวปี 2541)

          คุณวินิจชอบเล่นกีฬากอล์ฟ โบว์ลิง และแบดบินตัน ส่วนเวลาว่างมีงานอดิเรก คือ ถ่ายรูป ฟังเพลงคลาสิก

          คุณวินิจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

นับได้ว่าเป็นชาวกระทุ่มแบนอีกหนึ่งคนที่เต็มไปด้วยความสามารถในระดับประเทศ

---

ข้อมูลจาก | หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณวินิจ บุญวิวัฒน์ (29 เมษายน 2545)

เจ้าของอนุสาร อสท. ฉบับที่ทำสำเนา | คุณชนินทร์ อินทร์พิทักษ์

เผยแพร่ภาพ | เพจกระทุ่มแบนโฟโต้

---

🖼  อยากให้สำเนาภาพเก่า

📙 บริจาคภาพเก่า หรือหนังสือเก่าเกี่ยวกับกระทุ่มแบนเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน 

📬 ติดต่อได้ทาง inbox นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...