ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แผนที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2503

 ภาพแผนที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2503


         ผมได้ภาพต้นฉบับมาจากแม่ค้าของสะสมท่านหนึ่งในเฟซบุ๊ก ราว 2-3 ปี ก่อน แต่เพิ่งได้มีโอกาสนำไปสแกนเป็นไฟล์ดิจิทัลและนำมาเสนอให้ได้ชมกันครับ

         แผนที่นี้ช่วยไขคำตอบจากภาพพาโนรามาสมุทรสาครที่แอดมินเคยลงไว้ในเพจเมื่อ 2-3 ปีก่อน เพราะช่วยอธิบายตำแหน่งอาคารบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครได้เป็นอย่างดี  ซึ่งจะเตรียมนำเสนอในโอกาสต่อไป


ภาพพาโนรามาสมุทรสาคร
เจ้าของภาพ : แอดมินเพจกระทุ่มแบนโฟโต้

         ขอคัดลอกข้อมูลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติมอีกสักหน่อยนะครับ จากบทความเรื่อง "ฐานข้อมูลแผนที่อำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2503" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญ์  เจียรมณีโชติชัย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ว่า

         "แผนที่อำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทยเป็นแผนที่ในระดับเมืองฉบับแรกที่แสดงตัวเมืองต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางการปกครองและที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากบริเวณกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ประกอบด้วยแผนที่ อำเภอเมือง จำนวน 70 เมือง รวมกรุงเทพมหานคร 

         แผนที่ชุดนี้แสดงลักษณะและขนาดของเมืองในมาตราส่วนต่างๆ รวมถึงองค์ประกอบของเมืองที่สำคัญ อันได้แก่ ถนน อาคาร สภาพพื้นที่อื่นๆ 

         จากการศึกษารายงานวิจัยแผนที่บริเวณอำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2503 นั้นยังไม่พบหลักฐานว่าแผนที่ชุดนี้ถูกจัดทำขึ้นเมื่อใด แต่ทราบว่าสำรวจและเขียนขึ้นโดยกรมโยธาเทศบาล (ปัจจุบันคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย) ซึ่งในเวลานั้นมีหน้าที่ก่อสร้างถนนและระบบสาธารณูปโภค 

         กรมแผนที่ทหารเป็นผู้รวบรวม แก้ไข จัดพิมพ์ และนำออกเผยแพร่ใน พ.ศ. 2503 ประกอบด้วยแผนที่อำเภอเมืองของแต่ละจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไทย รวม 70 จังหวัด ในมาตราส่วน 3 มาตราส่วน คือ 1 : 5,000 1: 10,000 และ 1 : 20,000 สันนิษฐานว่ากรมโยธาเทศบาลจัดส่งกลุ่มช่างสำรวจและช่างเขียนแผนที่ออกไปสำรวจรังวัดสภาพพื้นที่จริงในอำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรเพื่อการจัดทำแผนที่ชุดบริเวณอำเภอเมืองนี้ ทำให้แผนที่แสดงสภาพความเป็นอยู่ในช่วงเวลานั้น 

         วัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดทำแผนที่ชุดนี้ เพื่อให้ข้าราชการและผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานในเมืองต่างๆ ที่อยู่ในต่างจังหวัดไว้ใช้งาน ทำให้แผนที่อำเภอเมืองชุดนี้ มีประโยชน์และเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาเมืองในเวลาต่อมา"

---

เข้าถึงบทความเรื่อง "ฐานข้อมูลแผนที่อำเภอเมืองทั่วราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2503" ได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/.../view/164390/119164/457060

---

เจ้าของแผนที่ฉบับกระดาษ  | แอดมินกระทุ่มแบนโฟโต้

เผยแพร่ภาพ | เพจเฟซบุ๊กกระทุ่มแบนโฟโต้

หน่วยงานที่ตีพิมพ์แผนที่ | กรมแผนที่ทหารบก

--

🖼  อยากให้สำเนาภาพเก่า

📙 บริจาคภาพเก่า-หนังสือเก่าเกี่ยวกับกระทุ่มแบนเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน

📬 ติดต่อได้ทาง inbox - https://www.facebook.com/ktb.photo นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...