ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๕ สาย ธนบุรี - ปากท่อ" โดย นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง


         ในช่วงนี้ "ถนนพระราม ๒" หรือชื่อเดิม "ถนนปากท่อ-ธนบุรี" กำลังเป็นข่าวคราวที่ได้รับการพูดถึงผ่านสื่อต่างๆ มากมาย เนื่องด้วยเป็นถนนที่มีการก่อสร้าง ปรับปรุง สร้างเพิ่มเติมกันมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการจราจร ความเป็นอยู่ของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง

         บังเอิญผมได้มีโอกาสอ่านบทความเก่าเรื่องหนึ่งที่เขียนขึ้นใน วารสารทางหลวง ของกรมทางหลวง กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ ชื่อเรื่องว่า "ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๕ สาย ธนบุรี - ปากท่อ" โดย นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง ในขณะนั้น ผมจึงขออนุญาตคัดลอกเนื้อหา และภาพแผนที่จากในวารสารออกมาเผยแพร่ รวมถึงบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในอดีตให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

แผนที่ถนนสายธนบุรี-ปากท่อ
แผนที่แสดงเส้นทางถนนสายธนบุรี-ปากท่อ (เส้นปะสีดำเข้ม)

         ทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - ปากท่อ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายใหม่ ซึ่งกรมทางหลวงกำลังเริ่มโครงการก่อสร้างใหม่ ทางหลวงสายนี้เริ่มต้นที่คาวคะนอง จังหวัดธนบุรี ไปสู่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ สายเพชรเกษม ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๓๔ ใต้อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๘๔ กิโลเมตร และทางสายนี้จะเชื่อมกับทางสายประธานสายใต้ หากผู้ที่ต้องการเดินทางไม่ประสงค์จะผ่านจังหวัคนครปฐม และราชบุรี จะย่นระยะทางได้ถึง ๓๕ กิโลเมตร กับทั้งจะหลีกเลี่ยงความแออัดของยวดอานในทางสายกรุงเทพ ฯ นครปฐม ซึ่งขณะนี้มีปริมาณจราจรจำนวนเฉลี่ย ๑,๑๐๐ คันต่อวัน

         จังหวัดสมุทรสาครขณะนี้ มีทางรถยนตร์ที่ติดต่อกับจังหวัดพระนครเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๓๐๙๑ หรือที่เรียกว่าทางสายเศรษฐกิจหนึ่ง ซึ่งมาบรรจบกับถนเพชรเกษม ทางสายนี้เพิ่งจะลาดยางเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๑๑ แต่ยังอยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำ ระยะทางจากสมุทรสาคร ถึงกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๔๕ กิโลเมตร ส่วนทางสายธนบุรี - ปากท่อ นั้น จะทำให้จังหวัดสมุทรสาครใกล้กรุงเทพฯ เข้ามาอีกคือ มีระยะเพียง ๓๐ กิโลเมตรเท่านั้น

         สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามนั้น ขณะนี้ทางรถยนตร์ยังไม่ถึงตัวจังหวัด การติดต่อทางรถยนต์จากจังหวัดสมุทรสงคราม จำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำแม่กลอง มาตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๓ ทางหลวงสายสมุทรสงคราม - ปากท่อ บรรจบถนนเพชรเกษมที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ระยะทางจากสมุทรสงคราม ถึงพระนครประมาณ ๑๕๕ กิโลเมตร แต่ทางหลวงสายธนบุรี - ปากท่อ นี้ จะทำให้จังหวัดสมุทรสงครามติดต่อกับกรุงเทพฯ ได้ในระยะทาง ๖๕ กิโลเมตรเท่านั้น

ถนนพระราม ๒ เมื่อ ๒๕๑๔
ถนนพระราม ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔
สแกนภาพโดยคุณ Phong  คัดลอกภาพจาก Facebook "Explore World"

         การคมนาคมในระหว่างสองจังหวัดปากอ่าวไทย เดิมเป็นการติดต่อกันในระบบทางลำน้ำลำคลองมากกว่าทางถนน คือ คลองซึ่งเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งได้แก่ คลองมหาชัย คลองท่าจีน คลองบางบ่อ คลองแม่กลอง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ และทางรถไฟสายคลองสาน สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม แต่ทางรถไฟนี้ยังไม่บรรจบกับระบบสาย Main ของการไฟ และการข้ามแม่น้ำท่จีนต้องขนถ่ายลงเรืออีกด้วย ส่วนทางบกแม้ขณะนี้จะมีทางที่ไปถึงจังหวัดทั้งสองได้ ก็เบ็นทางชั้นรอง และต้องอ้อมเข้ากรุงเทพฯ คือทางสายเศรษฐกิจหนึ่ง และทางสายสมุทรสงคราม - ปากท่อ ดังกล่าวแล้วข้างต้น  ขณะนี้กรมทางหลวงได้กำลังก่อสร้างทางหลวงจังหวัด เพื่อเข้าสู่จังหวัดทั้งสอง แต่ยังไม่ถึงตัวจังหวัดอีก ๒ สาย คือ ทางสายพระประโทน - ตอนยายหอม - บ้านแพ้ว- สมุทรสาคร และทางสายบางแพ - ดำเนินสะดวก-สมุทรสงคราม ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสองสายได้ภายใน พ.ศ. ๒๕๑๕ หากสถานะการเงินอำนวยให้พอ


ถนนธนบุรี-ปากท่อราวยุค พ.ศ. ๒๕๒๐ ช่วงระหว่าง ต.กาหลง กับ ต.นาโคก จ.สมุทรสาคร


แม่ค้าขายเกลือริมถนนธนบุรี-ปากท่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
ภาพจากเพจ ภาพเก่าเล่าอดีต

         เนื่องด้วยทางหลวงสายนี้ผ่านพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งดินส่วนมากเบ็นดินเหนียว (Soft Marine Clay ) บริษัทผู้รับงานสำรวจออกแบบจึง ได้ทำถนนทดลองขึ้น เพื่อศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ นำมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างของถนน ตลอดจนหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างเพื่อให้การทรุดตัวของถนนทรุดน้อยที่สุด สามารถรับน้ำหนักการจราจรได้ บริเวณตอสะพานซึ่งมักจะทรุดอยู่เสมอนั้น ก็ได้ออกแบบป้องกันไว้ใช้เข็มตอก ณ บริเวณคอสะพานก่อนทำการถมดิน การทดลองดังกล่าวนั้นเลือกสถานที่ก่อสร้าง ๓ แห่ง คือ ที่
- ที่ริมแม่น้ำท่าจีน แห่งหนึ่ง
- ที่ถนนเอกชัยใกล้สถานีคอกควาย แห่งหนึ่ง
และที่คลองตะเคียนใกล้แม่น้ำแม่กลอง แห่งหนึ่ง

         ถนนทดลองได้ทดลองเสร็จไปแล้วสองแห่งแรก ส่วนที่คลองตะเคียนกำลังทดลองอยู่ซึ่งจะแล้วเสร็จในเร็ววันนี้

         งานสำรวจออกแบบทางนี้ นับได้ว่าแล้วเสร็จเรียบร้อยโดยประมาณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ ๕๕๗ ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายค่าก่อสร้าง และอำนวยการเสียประมาณ ๔๓๕ ล้านบาทโดยใช้จากเงินกู้ธนาคารโลก ๔๕ % และเงินงบประมาณ ๕๕% และเป็นค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาคารตลอดจนพืชผล จำนวนเงินประมาณ ๑๒๒ ล้านบาท ค่าทดแทนนี้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดิน

         การสำรวจออกแบบซึ่งได้กล่าวแล้วว่าได้แล้วเสร็จนั้น ขณะนี้ยังต้องแก้ไขอีกบางตอน คือ ตรงทางแยกที่ดาวคะนอง ตอนที่เชื่อมกับถนนสุขสวัสดิ์นั้น ต้องออกแบบใหม่ เนื่องด้วยเทศบาลนครธนบุรี มีโครงการที่จะย้ายถนนตากสินให้กว้างออกไปอีก ฉะนั้น จำต้องออกแบบให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับถนนที่ขยายใหม่

         นอกจากนี้จะต้องออกแบบสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟเพิ่มเติม อีกสามแห่งเพื่อความสะดวกและปลอยภัยแก่ผู้ใช้ทางหลวงบนสายนี้ สะพานลอยข้ามทางรถไฟสามแห่งนี้ คือที่ทางรถไฟสายธนบุรี - สมุทรสาคร แห่งหนึ่ง ตอนระหว่างสมุทรสาครไปสมุทรสงคราม แห่งหนึ่ง และทางรถไฟสายใต้ ตอนใต้ของอำเภอปากท่อ ประมาณ ๓ กิโลเมตร อีกแห่งหนึ่ง

         การก่อสร้างทางสายนี้ ได้กำหนดไว้แล้วให้เบ็นการ ก่อสร้างโดยวิธีจ้างเหมาประกวดราคาและเพื่อที่จะเร่งรัดให้งานก่อสร้างได้แล้วเสร็จในเวลาเร็วพอสมควร คือ ในกลางปี ๒๕๑๕ จึงได้กำหนดแบ่งการก่อสร้างเป็น ๓ ตอน คือ

         ตอนที่ ๑ จากธนบุรี ถึง สมุทรสาคร โดยเริ่มต้นจากทางแยกถนนสุขสวัสดิ์ที่ดาวคะนอง ธนบุรี ไปถึงต้านเหนือตัวจังหวัดสมุทรสาครหนึ่งกิโลเมตร มีระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร กำหนดยื่นซองประกวดราคาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้

         ตอนที่ ๒ จากสมุทรสาคร ถึง สมุทรสงคราม โดยเริ่มตันต่อจากตอนที่ ๑ ไปถึงสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่ในตัวจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ  ๑ กิโลเมตร และอยู่ด้านตะวันออกแม่น้ำกลองประมาณ ๓๐๐ เมตร ความยาวของช่วงนี้ ๓๖ กิโลเมตร บริษัท Hyun Dai Construction Co. Ltd. เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ในวงเงิน ๑๔๘,๘๗๑,๔๙๐ บาท

         ตอนที่ ๓ จากสมุทรสงคราม ถึง อำเภอปากท่อ โดยเริ่มต้นต่อจากตอนที่ ๒ ข้ามแม่น้ำแม่กลองไปจดถนนเพชรเกษม ประมาณ ก.ม. ๑๓๔ ตอนใต้อำเภอปากท่อ ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีความยาว ๑๙ กิโลเมตร บริษัท Lolel Boneh's Overseas and Harbour Work เบ็นผู้ประมูลได้ในราคา ๙๓,๖๒๖,๓๖๐ บาท การเรียกประกวดราคานั้น กรมทางหลวงได้ประกาศประกวดราคาโดยในชั้นแรก ได้ประกาศจดทะเบียนคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติความสามารถของบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จะสามารถก่อสร้างงานนี้ให้สำเร็จตามแผนได้

         เนื่องด้วยในบัจจุบันมีทางหลวงสายประธานสายเดียว เท่านั้นที่เชื่อมจังหวัดพระนครกับภาคตะวันตกและภาคใต้ คือ ทางหลวงหมายเลข ๔ หรือที่เรียกว่า ทางหลวงสายเพชรเกษม ซึ่งผ่านจังหวัดนครปฐม - ราชบุรี และเพชรบุรี ส่วนการคมนาคมสู่จังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรสงกราม ไม่มีทางตัดตรงจากพระนคร ธนบุรี จะมีก็เฉพาะทางหลวงจังหวัดเชื่อมกับทางหลวงสายเพชรเกษม ซึ่งมีระยะทางยาวและอ้อมมาก ดังได้เรียนมาแล้วข้างต้นการก่อสร้างทางหลวงสายนี้ จะทำให้จังหวัดทั้งสองกลายเบ็นเมืองเปิดและสามารถที่จะส่งผลผลิตเข้ากรุงเทพฯ ได้สะดวกและระยะสั้นเข้า เบ็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและประหยัดเวลาในการเดินทางเป็นอย่างมาก และคาดหมายว่าในอนาคตปริมาณการจราจรประมาณ ๕๐ % จะหันไปใช้ทางสายใหม่นี้เอง เนื่องด้วยเป็นทางลัดย่นระยะทางได้ถึง ๓๕ กิโลเมตรอันเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้ง่ายในการขนส่ง ส่วนทางเดิมนั้นก็จะช่วยให้ค่าบำรุงรักษาลดน้อยลง และใช้สำหรับบริการจังหวัคภาคตะวันตกซึ่งนับวันจะเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้าอีกมาก

“ถนนพระรามที่ ๒” บริเวณแยกต่างระดับสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ในภาพคือแยกเข้าอำเภอกระทุ่มแบน ภาพจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๗-๒๙ มีนาคม ๒๕๓๘ ฉบับพิเศษหน้า ๕) คัดลอกจากเพจเมืองเก่าเล่าใหม่
“ถนนพระรามที่ ๒” บริเวณแยกต่างระดับสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘
ในภาพคือแยกเข้าอำเภอกระทุ่มแบน
ภาพจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๗-๒๙ มีนาคม ๒๕๓๘ ฉบับพิเศษหน้า ๕)
คัดลอกจากเพจเมืองเก่าเล่าใหม่

การขยาย “ถนนพระรามที่ ๒” ไม่ทราบบริเวณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๕ (หน้า ๑๒)
การขยาย “ถนนพระรามที่ ๒” ไม่ทราบบริเวณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕
ภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๕ (หน้า ๑๒)
คัดลอกจากเพจเมืองเก่าเล่าใหม่


ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารทางหลวง www.doh.go.th


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ ...

กว่า ๙๐ ปี "ร้านกิมกี่" และเรื่องเล่าจากเจ้าของร้าน

ตลาดกระทุ่มแบนเป็นอีกหนึ่งชุมชนอันเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญมาหลายร้อยปีในอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองภาษีเจริญในบริเวณตลาด ใกล้กับจุดที่คลองกระทุ่มแบนตัดผ่านกับคลองภาษีเจริญ หรือคนเก่าๆ ในพื้นที่เรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” หรือ “ตลาดสี่กั๊ก” อันเป็นตลาดน้ำที่คนรุ่นเกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บอกเล่ากันเป็นเสียงเดียวว่ามีความคึกคัก มีเรือแน่นเป็นร้อยลำทั้งเรือพ่อค้าแม่ค้า และเรือชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในยามเช้า เรือนไม้ริมคลองบริเวณถนนเจริญสวัสดิ์นับตั้งแต่สามแยกโรงพิมพ์วิไลพาณิชย์ยาวเรื่อยไปจนถึงศาลหลวงตาทองก็จะเป็นห้องแถวไม้เก่าที่เป็นแถวแนวยาว บางส่วนมีการก่อสร้างขึ้นในยุค ๒๔๙๐ แต่บางส่วนก็มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น มีห้องแถวอยู่ช่วงหนึ่งฝั่งตลาดบริเวณเชิงสะพานแป๊ะกง หรือที่หลายคนเรียกกันอีกชื่อว่า “ตลาดบุญมี” ที่ยังคงสภาพความเป็นเรือนไม้เก่าที่ขนาบข้างด้วยอาคารคอนกรีตที่ปลุกขึ้นมาทดแทน ทำให้ผมได้มีโอกาสได้พอเห็นสภาพเดิมของห้องแถวรุ่นแรกๆ ของตลาดกระทุ่มแบนอยู่บ้าง แต่จะมีอยู่ร้านหนึ่งที่มีป้ายระบุอายุร้านชั...